tripgether.com

Home Isolation ติดเชื้อโควิด-19 ต้องกักตัวที่บ้านทำอย่างไร?

3,925 ครั้ง
20 ก.ค. 2564

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เผยว่า เพื่อเป็นการควบคุมป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร จึงได้ร่วมกับเครือข่ายด้านสาธารณะสุขและภาคีเครือข่ายอื่นๆ เร่งเพิ่มจำนวนศูนย์พักคอย (Community Isolation) ให้กระจายครอบคลุมทุกพื้นที่แล้ว  เพื่อนำส่งผู้ติดเชื้อให้เข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลเบื้องต้นให้เร็วที่สุด เป็นการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยตกค้างและบรรเทาปัญหาการแพร่กระจายเชื้อให้กับคนในครอบครัวและชุมชน


Home Isolation ติดเชื้อโควิด-19 ต้องกักตัวที่บ้านทำอย่างไร?

Home Isolation ติดเชื้อโควิด-19 ต้องกักตัวที่บ้านทำอย่างไร?


กรุงเทพมหานคร เปิดแนวทางดูแลผู้ป่วยโควิด-19 โดยให้มีการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) เบื้องต้นเป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว ให้โทรแจ้งสายด่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 1330 กด 14 (โทรได้ตลอด 24 ชม.) หรือแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าไปสอบสวนโรค หรือประเมินอาการเบื้องต้น และสามารถกรอกข้อมูล/ลงทะเบียนได้ที่นี่ https://crmsup.nhso.go.th/

ผู้ป่วยต้องมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ ดังนี้

  • เป็นผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย (เคสสีเขียว)
  • มีอายุน้อยกว่า 60 ปี
  • สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีภาวะอ้วน (น้ำหนักน้อยกว่า 90 กก.)
  • ผู้ป่วยและคนพักอาศัยอยู่ด้วยกันไม่มีโรคประจำตัว ได้แก่
    • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
    • โรคไตเรื้อรัง (ระยะ 3 ,4 ,5)
    • โรคหัวใจ และหลอดเลือด
    • โรคหลอดเลือดสมอง
    • โรคเบาหวานควบคุมไม่ได้
    • และโรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
  • อยู่คนเดียวหรือที่พักอาศัยมีพื้นที่สำหรับผู้ป่วยแยกกักตัวโดยเฉพาะ

Home Isolation ติดเชื้อโควิด-19 ต้องกักตัวที่บ้านทำอย่างไร?


ในขณะที่แยกกักตัวที่บ้านจะได้รับ

  • อาหารส่งให้ 3 มื้อ ทุกวัน
  • เจ้าหน้าที่จะนำอุปกรณ์ติดตามอาการเทอร์โมมิเตอร์
  • เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
  • ยาฟ้าทะลายโจร
  • ยาฟาวิพิราเวียร์ (ตามดุลพินิจของแพทย์)

ส่งให้ ณ ที่พัก มีแพทย์ พยาบาล บุคลากรสาธารณสุข ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ผ่านทางวิดีโอคอล หรือโทรศัพท์วันละ 2 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน จนครบระยะเวลา 14 วัน


การปฎิบัติตัวของผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อทำ Home Isolation

  • ห้ามออกจากที่พัก และห้ามผู้ใดมาเยี่ยมบ้าน
  • ห้ามเข้าใกล้หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
  • แยกห้องพัก ของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น หากแยกไม่ได้ควรแยกให้ห่างจากผู้อื่นให้มากที่สุด และความเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
  • ห้ามรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากไม่ได้อยู่คนเดียว
  • ล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลทุกครั้งที่จำเป็นต้องสัมผัสกับของใช้ต่าง ๆ
  • แยกซักเสื้อผ้า และเครื่องนอน ด้วยน้ำและสบู่ หรือผงซักฟอก
  • ควรใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น
  • แยกขยะ โดยมัดปากถุงขยะให้แน่น
  • การดำเนินการของโรงพยาบาล
  • ประเมินความเหมาะสมสำหรับผู้ติดเชื้อแยกตัวในสถานที่พักของตนเอง
  • ลงทะเบียนผู้ติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์การแยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) ในระบบของโรงพยาบาล
  • ควรถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X-ray) หากพบความผิดปกติ แนะนำเข้ารักษาที่โรงพยาบาล
  • แนะนำการปฏิบัติตัวและจัดเตรียมปรอทวัดไข้ และ Pulse Oximeter ให้กับผู้ป่วยติดเชื้อ
  • ติดตามประเมินอาการผู้ติดเชื้อระหว่างการแยกตัวที่บ้านผ่านระบบการสื่อสารต่างๆ อาทิ โทรศัพท์ติดตามอาการ สอบถามอาการไข้ ค่า Oxygen Saturation วันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) เป็นระยะเวลา 14 วัน
  • จัดช่องทางติดต่อในกรณีผู้ติดเชื้อมีอาการเพิ่มขึ้นหรือภาวะฉุกเฉิน อาทิ มีไข้ลอย หอบเหนื่อย หายใจลำบาก
  • จัดระบบรับ-ส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลในกรณีผู้ติดเชื้อจำเป็นต้องย้ายเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาล
  • ให้ความมั่นใจในมาตรฐานการดูแลรักษาของทีมแพทย์และพยาบาลสำหรับผู้ติดเชื้อ

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมากขึ้น (เปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีแดง) ให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่ตามช่องทางที่กำหนด หรือโทร 1330 เพื่อให้ทีมแพทย์ประเมินแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ที่สำคัญ คือ ต้องสังเกตอาการของตัวเอง วัดอุณหภูมิทุกวัน หากอาการแย่ลง เช่น มีอาการหอบ เหนื่อย มีไข้สูงขึ้น ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ให้รีบติดต่อ รพ. ที่รักษาอยู่ หรือโทร 1330 ให้ทางรพ. ส่งรถไปรับเพื่อนำส่งตัวเข้ารับการรักษาที่ รพ. แต่หากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาลด้วยตนเอง แนะนำให้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่ใช้รถสาธารณะ และต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากมีผู้ร่วมยานพาหนะไปด้วยให้เปิดหน้าต่างรถเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ และเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ต้องเดินทางไปด้วย

นอกจากนี้ผู้ป่วยรายใหม่ที่เป็นเคสสีเขียว จะสามารถแยกกักตัวแบบ Home Isolation ได้แล้ว ผู้ป่วยที่เข้าพัก ณ โรงพยาบาลสนาม Hospitel และโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษามาแล้ว 7 – 10 วัน สามารถกลับบ้าน แล้วแยกกักรักษาตัวตามแนวทางของ Home Isolation ได้เช่นกัน แต่ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

ที่มา: แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ฉบับวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564


ผู้เขียน

ampampaamp
นัก(หัด)เขียน ที่ฝันอยากใช้ชีวิตเรียบง่าย เงียบสงบ กับธรรมชาติ ,ชื่นชอบเรื่องไลฟ์สไตล์ การแต่งบ้าน เบเกอรี่ พอๆ กับการท่องเที่ยว แต่มักใช้เวลาว่างหมดไปกับการนอนดูซีรีส์

เรื่องที่คุณอาจสนใจ