กรมควบคุมโรคชวนประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฟรี!! เริ่ม 1 พ.ค. นี้
4,904 ครั้ง
23 เม.ย. 2563
4,904 ครั้ง
23 เม.ย. 2563
กรมควบคุมโรค ได้เร่งรณรงค์ให้ประชาชนฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้เร็วขึ้น จากเดือนมิถุนายน เป็นเดือนพฤษภาคม จำนวน 4.11 ล้านโด๊ส เพราะโรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่มักพบผู้ป่วยมากขึ้นในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ประกอบกับอยู่ในช่วงของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ซึ่งเป็นโรคในระบบทางเดินหายใจที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ จึงอาจะทำให้เกิดการสับสนในการวินิจฉัยและการดูแลรักษาได้ และเพื่อช่วยให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ทันต่อสถานการณ์
ตอบ: ไข้หวัดใหญ่ (Influenza, Flu) คือ โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจในส่วนของจมูก ลำคอ และปอด เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza ที่สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ หลายคนมองว่าเป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่ความจริงแล้วไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนหลังติดเชื้อ หรือถึงแก่ชีวิตได้
ตอบ: มี 4 ประเภท แต่การติดเชื้อที่พบในมนุษย์มี 3 ประเภทด้วยกัน คือ
1.ไวรัสชนิด A มีความรุนแรงและอันตรายมากที่สุด สามารถติดต่อจากสัตว์พาหะมาสู่คน และจากคนที่ติดเชื้อไปสู่คนอื่นๆ ทางการไอ จาม และอากาศหายใจที่มีเชื้อไวรัสกระจายตัวอยู่ จึงแพร่ระบาดได้เป็นวงกว้างและรวดเร็ว
2.ไวรัสชนิด B เป็นไวรัสที่มักแพร่ระบาดตามฤดูกาลที่มีสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการติดเชื้อ อย่างในช่วงฤดูหนาวและฤดูฝน เช่น ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (Seasonal Flu) อาจแพร่ระบาดได้ในระดับภูมิภาค
3.ไวรัสชนิด C เป็นการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรง มีอาการป่วยเล็กน้อย หรือไม่แสดงอาการป่วยเลย และไม่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาด
4.ไวรัสชนิด D เป็นการติดเชื้อที่พบเฉพาะในสัตว์ และยังไม่พบการติดเชื้อที่แพร่มาสู่คน
ตอบ:
เช็คอาการโควิด-19ได้ที่: อัพเดทอาการ 14 วัน รู้ทันโควิด-19 ถ้าติดเชื้อจะเป็นอย่างไร
, ลองทำเลย! แบบประเมินความเสี่ยงโควิด 19 ด้วยตัวเอง เช็คตัวเองได้ที่บ้านก่อนไปตรวจที่โรงพยาบาล
ตอบ: ติดต่อกันผ่านทางการสัมผัสผู้ป่วย น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ผ่านทางการไอ หรือจาม รดใส่กัน เช่นเดียวกันกับการติดต่อกันของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
ตอบ: บุคคลใน 7 กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน
• หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
• เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
• บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
• โรคอ้วน (น้ำหนัก>100 กิโลกรัม หรือ BMI >35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
สูตรคำนวณ BMI (ดัชนีมวลกาย) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
ส่วนสูง (เมตร)2
ตัวอย่าง: น้ำหนัก = 68 กิโลกรัม, ส่วนสูง = 165 เซนติเมตร (เท่ากับ 1.65 เมตร) วิธีคิด: 68 / (1.65×1.65) = 24.98
• ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
• ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)
• ผู้มีโรคเรื้อรัง (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคหอบหืด, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคไตวาย, ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และโรคเบาหวาน)
ตอบ: ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563
ตอบ: สามารถจองสิทธิ์ผ่านทางออนไลน์ที่ @ucbkk
โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
1.สมัครสมาชิกเพื่อยืนยันตัวตน
2.เลือกบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
3.เลือกหน่วยบริการในการเข้ารับวัคซีน
4.ลงนัดวันเวลาในการเข้ารับบริการ
5.รับบริการตามที่ลงทะเบียนไว้
ตอบ: สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ที่ โรงพยาบาลภาครัฐ และโรงพยาบาลเอกชน ที่ขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 หรือ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
ตอบ: เริ่มให้บริการวันที่ 1 มิถุนายน 2563
ตอบ: องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้เด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ รวมถึงบุคคลทั่วไป ฉีดวัคซีนปีละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยให้ภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่ทำงานได้ดีและต่อเนื่อง
ตอบ: เพราะเมื่อฉีดวัคซีนไปสักระยะ ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อโรคจะค่อยๆ ลดลง นอกจากนี้สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่แพร่ระบาดอาจเปลี่ยนแปลงไป จึงควรฉีดวัคซีนซ้ำเพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น และป้องกันได้ตรงกับสายพันธุ์ที่กำลังระบาด
ตอบ: 1.เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน
2.บุคลลที่มีประวัติการแพ้ไก่ หรือไข่ไก่ อย่างรุนแรง เพราะวัคซีนชนิดนี้ผลิตจากไก่
3.ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วมีอาการแพ้รุนแรง
4.ผู้ที่มีไข้ หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน
5.ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวกำเริบ ควบคุมไม่ได้ ควรเลี่ยงการรับวัคซีนไปก่อน
**กลุ่มบุคคลต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการเข้ารับการฉีดวัคซีน เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
ตอบ: 1.หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีการรวมตัวกันของคนหมู่มาก เช่น ห้างสรรพสินค้า และตลาด
2.ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม ควรสมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่อมีความจำเป็นต้องออกไปข้างนอก
3.ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ 70% เมื่อสัมผัสสิ่งของที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ เช่น กลอนประตู ลูกบิด ราวบันได
4.หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วย
5.ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส
ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค