ลูกหนี้ทั้งหลายเจอสถานการณ์โควิด-19 ครั้งนี้หนักหนาเกินกว่าจะรับไหว แวะเข้ามาเช็คช่องทางลงทะเบียนมาตราการพักชำระหนี้ 2 เดือน เยียวยาช่วงสถานการณ์โควิด-19 กัน เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับสมาคมธนาตคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ร่วมกันออกมาตราการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 2 เดือน เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้ของเดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อนผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย ณ ขณะนี้! ตามมาดูรวมมาให้แล้ว พักชำระหนี้ทุกธนาคาร! บรรเทาความเดือดร้อนจาก COVID-19
รวมมาให้แล้ว พักชำระหนี้ทุกธนาคาร! บรรเทาความเดือดร้อนจาก COVID-19
ธนาคารออมสิน
พักหนี้แบบไม่ต้องส่งเงินงวด (พักทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย) นานสูงสุดถึง 6 เดือน เริ่มงวดแรกเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2564
ผู้ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน
- ลูกค้าสินเชื่อรายย่อย วงเงินกู้ไม่เกิน 200,000 บาท ที่ไม่ใช้หลักทรัพย์คำ้ประกัน (ยกเว้น ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ)
ช่องทางการลงทะเบียน
-
- เฟสแรก เริ่มวันที่ 25 กรกฎาคม 2564
- เฟสสอง เดือนสิงหาคม 2564
- รอการเปิดสิทธิ์ที่แอพฯ MyMo
- ลูกค้ากดรับสิทธิ์ที่แอพฯ MyMo เท่านั้น
**สำหรับลูกค้าที่ไม่มีแอพฯ MyMo ให้ติดต่อธนาคารออมสินทุกสาขา เพื่อเปิดใช้บริการ
ข้อมูลเพิ่มเติม
พักชำระหนี้เงินต้น-ดอกเบี้ย 2 เดือน
ธนาคารออมสิน ออกมาตราการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SMEs และสินเชื่อรายย่อย ที่ถูกสั่งปิดกิจการตามประกาศภาครัฐ พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน (งวดเดือนสิงหาคมและกันยายน 2564) เมื่อครบกำหนดพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน ให้ลูกหนี้จ่ายชำระเงินงวดตามสัญญาเงินกู้เดิม โดยเงินต้นและดอกเบี้ยที่ตั้งพักไว้ ให้ชำระในงวดสุดท้ายของสัญญา
ผู้ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน
- ลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจ SMEs ลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจห้องแถว ทั้งในนามบุคคลธรรมดา และในนามนิติบุคคลที่สถานประกอบการต้องปิดกิจการอันเนื่องจากมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ของทางการ ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
- เป็นลูกหนี้สินเชื่อรายย่อย ที่เป็นลูกจ้างของสถานประกอบการที่ต้องปิดกิจการอันเนื่องจากมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ของทางการ ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
- ลูกหนี้ตามข้อ 1 และ ข้อ 2 ต้องไม่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (NPLs) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564
ช่องทางการลงทะเบียน
- เว็บไซต์ลงทะเบียน
- ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เวลา 08.00 น. ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 16.30 น.
ข้อมูลเพิ่มเติม
ธนาคารไทยพาณิชย์
มาตราการช่วยเหลือพิเศษสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการ (ตามมาตรการของ ธปท.) โดยพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 2 เดือน ทั้งนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของรัฐ
ผู้ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน
- ลูกค้าในเขตพื้นที่ควบคุมฯ ทั้งนายจ้าง-ลูกจ้างในสถานประกอบการที่ไม่สามารถเปิดกิจการได้
- ลูกค้านอกเขตพื้นที่ควบคุมฯ ที่ได้รับผลกระทบ ไม่สามารถเปิดกิจการได้ เช่น ร้านนวด-สปา ร้านเสริมความงาม ร้านขายของในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
เงื่อนไข
- ลูกค้ามีหน้าที่พิสูจน์ว่าได้รับผลกระทบจากคำสั่ง ศบค. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการธนาคารที่กำหนด
- ลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการจะต้องค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ณ วันลงทะเบียนแจ้งขอพักชำระหนี้ 2 เดือน
- เงินต้นและดอกเบี้ยที่คิดในช่วงพักการชำระหนี้ยังคงคำนวณในอัตราปกติ
- การพิจารณาอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด
ช่องทางลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564
- ผ่านแอป SCB EASY (เฉพาะลูกค้าบุคคล)
- ผ่านระบบอัตโนมัติ SCB Call Center โทร. 02 777 7777
- ผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ที่ดูแลท่าน
ข้อมูลเพิ่มเติม
ธนาคารกสิกรไทย
พักชำระหนี้ระยะเวลา 2 เดือนทั้งลูกค้าสินเชื่อรายย่อยและ SME
ผู้ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน
- ลูกค้าทั้งที่เป็นนายจ้าง และลูกจ้างในสถานประกอบการที่ต้องปิดกิจการในพื้นที่ควบคุมฯ (10 จังหวัด) รวมถึงลูกหนี้ที่ต้องปิดกิจการที่อยู่นอกพื้นที่ควบคุมฯ เช่น ร้านนวด-สปา ร้านเสริมความงาม ร้านขายของในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
- ลูกหนี้ไม่เป็น NPL ณ วันที่ลงทะเบียนมาตรการช่วยเหลือ
ช่องทางการลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม 2564
- ลูกค้า SME ติดต่อผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ K-BIZ Contact Center โทร. 02 888 8822
- ลูกค้ารายย่อย ติดต่อ K-Contact Center โทร. 02 888 8888
- LINE Official: KBank Live
ข้อมูลเพิ่มเติม
สำหรับลูกค้า สินเชื่อรถยนต์ (KLeasing ) ระยะที่ 3 สำหรับสินเชื่อรถช่วยได้ ประเภทโอนเล่มทะเบียนรถ, สินเชื่อเช่าซื้อรถ (รถใหม่) และสินเชื่อเช่าซื้อรถ (รถใช้แล้ว)
สินเชื่อรถ ประเภทเช่าซื้อ
- ลดการชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 50% ของค่างวดเดิมเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยขยายระยะเวลาการสิ้นสุดของสัญญาและจำนวนงวดผ่อนชำระหนี้อีก 3 เดือน
- กรณีลูกค้าเช่าซื้อที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างรุนแรง จนไม่สามารถชำระหนี้ได้ ให้พักการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือน (3 งวด) โดยขยายระยะเวลาการสิ้นสุดของสัญญาเป็นระยะเวลา 3 เดือน แต่ไม่ขยายงวดผ่อนชำระ
สินเชื่อรถช่วยได้ ประเภทจำนำทะเบียนรถยนต์
- ลดการชำระค่างวด 30% ของค่างวดเดิมตลอดอายุสัญญาที่เหลือนับจากวันที่เข้ามาตรการ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี ทั้งนี้ หากปัจจุบัน กำหนดอัตราดอกเบี้ยไม่ถึง 22% ต่อปี ให้พิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยไม่สูงกว่าอัตราเดิม
- กรณีลูกค้าจำนำเล่มทะเบียนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างรุนแรง จนไม่สามารถชำระหนี้ได้ ให้พักการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือน (3 งวด) โดยขยายระยะเวลาการสิ้นสุดของสัญญาเป็นระยะเวลา 3 เดือน แต่ไม่ขยายงวดผ่อนชำระ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี
ช่องทางการลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม – 31 ธันวาคม 2564
- พิมพ์ @help ผ่านช่องทาง LINE: KBank Live หรือ KLeasing Call Center โทร. 02 696 9999 หรือ KLeasing K-Contact Center โทร. 02 888 8888 ต่อ 860
ข้อมูลเพิ่มเติม
สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้าน
ทางเลือก 1 : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ย และลดอัตราดอกเบี้ย 0.10% เป็นระยะเวลา 3 เดือน
ทางเลือก 2 : ลดยอดผ่อนต่องวด 50% เป็นระยะเวลา 3 เดือน
ทางเลือก 3 : เลื่อนการชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือน
- ลูกค้าสามารถชำระหนี้มากกว่าเงื่อนไขที่เข้าร่วมมาตรการ เพื่อลดยอดหนี้หรือดอกเบี้ยได้ผ่านทาง K PLUS โดยไม่ต้องแจ้งธนาคาร
- ช่วงพักชำระเงินต้น ดอกเบี้ยยังคงถูกคำนวณตามปกติ
- กรณีอัตราดอกเบี้ยและหรือยอดผ่อนต่องวดในสัญญากู้เงินมีการปรับขึ้นตามเงื่อนไขในสัญญาหลักระหว่างช่วงที่อยู่ในมาตรการ อาจจะมีผลทำให้เกิดดอกเบี้ยค้างสะสม ซึ่งจะนำมาผ่อนชำระภายหลังที่ออกจากมาตรการ โดยในช่วงที่อยู่ในมาตรการยอดผ่อนต่องวดของท่าน จะคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย และหรือยอดผ่อน ณ ขณะที่สมัครเข้ามาตรการ
- วิธีการคิดดอกเบี้ยคิดจากเงินต้นเท่านั้น ไม่มีการนำดอกเบี้ยสะสมมาคิดดอกเบี้ยอีก
- ลูกค้าต้องไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือน นับแต่วันครบกำหนดชำระ (NPL) ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2563
- เป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์ COVID-19 เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน หรือธุรกิจที่ปิดบริการชั่วคราวตามประกาศทางราชการ
- ธนาคารจะแจ้งผลการอนุมัติผ่านทาง SMS ภายใน 10 วัน ทำการ หลังจากที่ลูกค้าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว
หมายเหตุ : กรณีลงทะเบียนสำเร็จ ก่อนวันครบกำหนดชำระ 10 วัน ธนาคารเริ่มปรับยอดผ่อนภายในรอบบัญชีนั้น หากลงทะเบียนสำเร็จหลังจากนั้น ธนาคารเริ่มปรับยอดผ่อนในรอบบัญชีถัดไป
ช่องทางการลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2564
- พิมพ์ @help ผ่านช่องทาง LINE: KBank Live หรือ K-Contact Center โทร. 02 888 8888 และ K-BIZ Contact Center โทร. 02 888 8822 สำหรับลูกค้าธุรกิจ
ข้อมูลเพิ่มเติม
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
มาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME และลูกค้ารายย่อย ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME และลูกค้ารายย่อย ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ที่ต้องปิดตามมาตรการควบคุมฯ ของรัฐ
ผู้ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME และลูกค้าสินเชื่อรายย่อยของธนาคาร ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์โควิด 19
- ไม่มีสถานะเป็น NPL ณ วันที่แสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการ
- ลูกค้าต้องแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการผ่านช่องทางของธนาคาร
ช่องทางการลงทะเบียน
ข้อมูลเพิ่มเติม
มาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน สำหรับลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
ชะลอการชำระค่างวดสูงสุด 2 เดือน (ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป) สำหรับลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ลูกค้า SME ที่ได้รับผลกระทบ
ผู้ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน
- ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
- ไม่เป็นลูกหนี้ NPL ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563 กรณีต้องการเข้าร่วมโครงการฯ ระยะที่ 1 2 และ 3
- ไม่เป็นลูกหนี้ NPL ณ วันที่ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมโครงการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิค 19 เพิ่มเติม สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ตามคำสั่ง ศบค. ที่ 9/2564 ล.ว. 10 ก.ค. 2564
ช่องทางการลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่ วันที่ 19 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME โทร 02 2966262 / 02 6262626 หรือติดต่อ เจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ (RM)
- ลูกค้ารายย่อย ติดต่อ Krungsri Call Center 1572
ข้อมูลเพิ่มเติม
มาตรการพักชำระหนี้สำหรับลูกค้าสินเชื่อยานยนต์ กรุงศรี ออโต้
พักชำระค่างวด ขั้นต่ำ 2 เดือน สำหรับสินเชื่อเช่าซื้อ และ สินเชื่อจำนำทะเบียน
ผู้ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน
- เป็นลูกค้าที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อกับ กรุงศรี ออโต้ ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2564
- ไม่เป็นสินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 90 วัน ณ วันที่เข้าร่วมมาตรการ
- ไม่เป็นสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการทางกฎหมาย ณ วันที่เข้าร่วมมาตรการ
ช่องทางการลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564
- กรุงศรี ออโต้ คอลเซ็นเตอร์ โทร. 02 740 7400 กด 3 หรือ 5
- ลงทะเบียนผ่าน Go by Krungsri Auto Appication
- ลงทะเบียนที่ คลิก **เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 3 วันทำการ
เงื่อนไข
- มาตรการสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบในช่วงสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19เท่านั้น
- ลูกค้าต้องแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมมาตรการและยืนยันผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า ก่อนวันครบกำหนดชำระค่างวดปัจจุบัน หรือ ก่อนมาตรการเดิมสิ้นสุดไม่น้อยกว่า 15 วัน เพื่อให้มาตรการช่วยเหลือครั้งใหม่มีผลในรอบบัญชีปัจจุบัน กรณีแจ้งความประสงค์หลังวันครบกำหนดชำระค่างวดปัจจุบัน หรือ หลังมาตรการเดิมสิ้นสุด มาตรการความช่วยเหลือครั้งใหม่จะมีผลในรอบบัญชีถัดไป
- ลูกค้าและผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ต้องลงนามในเอกสารสัญญาตามเงื่อนไขของกรุงศรี ออโต้
- ลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือจะ ไม่สามารถขอสินเชื่อใหม่กับกรุงศรี ออโต้ ได้ตามระยะเวลาที่กรุงศรี ออโต้ กำหนด
- กรณีลูกค้าได้รับอนุมัติเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือแล้วจะไม่สามารถยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงได้
- กรณีไม่เข้าเงื่อนไขข้างต้น กรุงศรี ออโต้ ขอสงวนสิทธิ์เป็นผู้พิจารณามาตรการ ให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันของลูกค้า
ข้อมูลเพิ่มเติม
มาตรการพักชำระหนี้สำหรับลูกค้าบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลของ กรุงศรี คอนซูมเมอร์
มาตรการ 1: พักชำระหนี้นานสูงสุด 2 รอบบัญชี (โดยต้องลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ)
-
- เฉพาะสมาชิกพนักงาน ลูกจ้าง หรือเจ้าของกิจการที่อยู่ในธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศ ของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือสมาชิกที่ได้รับผลกระทบ จากธุรกิจที่ปิดตัวลง หรือธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของทางราชการ
ระยะเวลา
- พักชำระหนี้นานสูงสุด 2 รอบบัญชี โดยการคำนวณดอกเบี้ยในระหว่างเข้ามาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ดอกเบี้ยยังคงคำนวณตามอัตราปกติแบบลดต้นลดดอก
ช่องทางการลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม 2564
- ลงทะเบียนผ่านทาง Call Center หรือ โมบายแอปพลิเคชัน UChoose
เงื่อนไขของมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนานสูงสุด 2 รอบบัญชี
- เฉพาะสมาชิกที่มีบัญชีบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลกับบริษัทในกลุ่มกรุงศรี คอนซูมเมอร์ สถานะบัญชีปกติ และไม่เคยมีประวัติค้างชำระ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
- สำหรับทุกบัญชีบัตรเครดิตที่ใช้วงเงินร่วม (Share line) บริษัทสงวนสิทธิ์พิจารณาเฉพาะในกรณีที่ทุกบัญชีบัตรเครดิตที่ใช้วงเงินร่วมมีสถานะบัญชีปกติ และไม่เคยมีประวัติค้างชำระในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาเท่านั้น
- บริษัทสงวนสิทธิ์ในการระงับการขอเพิ่มวงเงิน เปลี่ยนแปลงรอบบัญชี และเปลี่ยนแปลงสถานะบัตร เป็นการชั่วคราวตลอดระยะเวลาที่สมาชิกเข้าร่วมมาตรการนี้
- บริษัทสงวนสิทธิ์สำหรับ สมาชิก บัตรคอร์ปอเรท การ์ด ทุกประเภท และบัตรเครดิตที่สมัครโดยการอายัดบัญชี ไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้ได้
- บริษัทสงวนสิทธิ์ในการพิจารณามาตรการช่วยเหลือตามผลกระทบที่สมาชิกได้รับ แล้วแต่กรณี และไม่รับการยกเลิก เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไข ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ เมื่อบริษัทได้พิจารณาตามคำขอนี้แล้ว
มาตรการที่ 2: ปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษและขยายเวลาผ่อนชำระ สำหรับสมาชิกที่มีสถานะบัญชีปกติ (โดยต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ)
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือสมาชิกในสภาวะ Covid-19 ระยะที่ 3
- เฉพาะผู้ถือบัตรเครดิต/สินเชื่อส่วนบุคคลของ บริษัทในกลุ่มกรุงศรี คอนซูมเมอร์* เท่านั้น (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “สมาชิก”)
- สมาชิกในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
- สมาชิกในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากธุรกิจที่ปิดตัวลง หรือธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ ตามประกาศของทางราชการ
**ทั้งนี้ สำหรับสมาชิกนอกจากที่กล่าวข้างต้น ที่ได้รับผลกระทบไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจากสถานการณ์ ไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) สามารถยื่นเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขอให้บริษัทพิจารณาการเข้าร่วมโครงการได้ที่ UChoose ในการยื่นเอกสารเพิ่มเติมนี้ สมาชิกตกลงและยินยอมให้กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลหรือเอกสารที่ยื่นเพิ่มเติมนี้ เพื่อใช้ในการประเมิน หรือพิจารณาอนุมัติหรือปฏิเสธในการเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ สมาชิกรับทราบว่าการอนุมัติหรือปฏิเสธดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขของกรุงศรี คอนซูมเมอร์
เอกสารเพิ่มเติม อาทิเช่น บัตรพนักงาน และ หนังสือยกเลิกการจ้างงาน, หนังสือแจ้งพักงานชั่วคราว, หนังสือแจ้งลดอัตราเงินเดือน
* บริษัทในกลุ่มกรุงศรีคอนซูมเมอร์ หมายถึง บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด, บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด, บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด และ บริษัท โลตัสส์ มันนี่ เซอร์วิสเซส จำกัด
สำหรับสมาชิกสินเชื่อบัตรเครดิต
มาตรการช่วยเหลือสมาชิกในสภาวะ Covid-19 ระยะที่ 3 สำหรับสมาชิกสินเชื่อบัตรเครดิต ของบริษัทในกลุ่มกรุงศรีคอนซูมเมอร์
- เปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่ 20 พฤษภาคม – 31 ธันวาคม 2564 โดยบริษัทจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษเป็น 12% ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป
- บริษัทจะเปลี่ยนทุกยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตคงค้าง *เป็นยอดแบ่งชำระรายเดือน ดังนี้
- ยอดใช้จ่ายคงค้าง 2,500 – 10,000 บาท จำนวนงวดแบ่งชำระรายเดือน ระยะเวลา 24 เดือน
- ยอดใช้จ่ายคงค้าง มากกว่า 10,000 – 30,000 บาท จำนวนงวดแบ่งชำระรายเดือน ระยะเวลา 36 เดือน
- ยอดใช้จ่ายคงค้าง มากกว่า 30,000 บาท จำนวนงวดแบ่งชำระรายเดือน ระยะเวลา 48 เดือน
หมายเหตุ
* ไม่รวมถึงรายการที่ยังไม่ถูกบันทึกรายการ ณ วันที่บริษัทดำเนินการ
** ยอดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของยอดใช้จ่ายผ่านบัตรคงค้างจะถูกแบ่งเป็นยอดชำระรายเดือน 0% (ปลอดดอกเบี้ย) ตามระยะเวลาแบ่งชำระของยอดใช้จ่ายผ่านบัตรคงค้าง
เงื่อนไขของโครงการ
- โครงการช่วยเหลือนี้ สำหรับสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) เท่านั้น และไม่เคยเข้าร่วมมาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับสมาชิกสินเชื่อบัตรเครดิต
- สมาชิกต้องคงสถานะบัญชีปกติ และไม่เคยมีประวัติค้างชำระ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา และเฉพาะสมาชิกที่มีบัญชีบัตรกับบริษัทฯ ก่อนเดือนมีนาคม 2563
- สำหรับทุกบัญชีบัตรเครดิตที่ใช้วงเงินร่วม (Share line) ยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตคงค้างในทุกบัญชีดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนเป็นยอดแบ่งชำระรายเดือนภายใต้บัญชีบัตรเครดิตนั้น ๆ ทั้งนี้ บริษัทสงวนสิทธิ์ในการดำเนินการตามคำขอให้เฉพาะในกรณีที่ทุกบัญชีบัตรเครดิตที่ใช้วงเงินร่วมมีสถานะบัญชีปกติ และไม่เคยมีประวัติค้างชำระเท่านั้น
- วงเงินของท่านจะถูกปรับลดเท่ากับ ยอดสินเชื่อคงค้าง โดยเมื่อรวมกับวงเงินคงเหลือสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท (หากมี) จะไม่เกินกว่ายอดวงเงินเดิม และระงับวงเงินในการเบิกถอนเงินสดเป็นการชั่วคราวตลอดระยะเวลาที่สมาชิกเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้สามารถตรวจสอบวงเงินสินเชื่อของท่านได้ที่ใบแจ้งยอดบัญชี หรือ แอปพลิเคชั่น UChoose
- เพื่อให้สมาชิกยังคงได้รับบริการและความคุ้มครองประกันอย่างต่อเนื่อง สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นที่หักชำระอัตโนมัติผ่านบัตรเครดิต เช่น ค่าเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุ(PA) ค่าเบี้ยประกันคุ้มครองวงเงิน (PPI) และค่าสาธารณูปโภค ต่าง ๆ (หากมี) การไฟฟ้านครหลวง,การประปานครหลวง,บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เป็นต้น จะยังคงเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าวตามรอบบัญชีปกติต่อไป
- บริษัทสงวนสิทธิ์ บัตรคอร์ปอเรท การ์ดและบัตรเครดิตที่อายัดบัญชี ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้
- บริษัทสงวนสิทธิ์ในการพิจารณามาตรการช่วยเหลือตามผลกระทบที่สมาชิกได้รับ แล้วแต่กรณี และไม่รับการยกเลิก เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไข ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ เมื่อบริษัทได้ดำเนินการตามคำขอนี้แล้ว
มาตรการที่ 3: ปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือนด้วยการขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน (ปรับโครงสร้างหนี้) พร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต และ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล สำหรับลูกค้าที่มียอดค้างชำระ โดยลูกค้าสามารถแจ้งความจำนง หรือติดต่อมายังบริษัท และจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี
ข้อมูลเพิ่มเติม
ธนาคารกรุงเทพ
มาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการ SME และลูกค้ารายย่อยในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการควบคุมฯ ของรัฐ
ผู้ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME และลูกค้าสินเชื่อรายย่อย ในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรค
- สำหรับลูกค้าที่ยังสามารถเปิดดำเนินกิจการ แต่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ที่ลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ สามารถปรึกษาธนาคาร โดยธนาคารจะนำเสนอความช่วยเหลือตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป
ช่องทางการลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564
- เว็บไซต์ www.bangkokbank.com
- โมบายแบงค์กิ้ง ธนาคารกรุงเทพ
- สำนักธุรกิจและสาขาธนาคารทั่วประเทศ
- บัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ โทร. 02 645 5555
ข้อมูลเพิ่มเติม
ธนาคารกรุงไทย
พักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยเอสเอ็มอี – รายย่อยที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564
ผู้ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน
- สำหรับลูกหนี้ ทั้งนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการมาตรการควบคุมฯ ของรัฐ (หลักเกณฑ์การพิจารณาเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)
ช่องทางการลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564
- ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา หรือหน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของลูกค้า
ข้อมูลเพิ่มเติม
ลูกค้าบุคคล
มาตรการที่ 1: สินเชื่อที่อยู่อาศัย และ สินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน
- ลดค่างวด โดยการขยายระยะเวลาชำระหนี้ สูงสุด 12 เดือน หรือ
- พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยบางส่วน สูงสุด 12 เดือน หรือ
- พักชำระ เงินต้นและชำระเฉพาะดอกเบี้ย สูงสุด 3 เดือน
มาตรการที่ 2: สินเชื่อบุคคล แบบกำหนดระยะเวลา
- ลดการผ่อนชำระลง 30% จากการผ่อนชำระตามสัญญากู้เดิม สูงสุด 6 เดือน
มาตรการที่ 3: สินเชื่อบุคคล ประเภทวงเงินหมุนเวียน เปลี่ยนเป็นวงเงินกู้ แบบกำหนดระยะเวลา 48 งวด
ช่องทางการลงทะเบียน
ลูกค้าธุรกิจ
มาตรการที่ 4: มาตราการสินเชื่อฟื้นฟู
- ดอกเบี้ยพิเศษ เฉลี่ย 2 ปี ไม่เกิน 2% ต่อปี
- ผ่อนนาน สูงสุด 10 ปี
- ค้ำประกัน โดย บสย. สูงสุด 10 ปี
จุดเด่น
- ดอกเบี้ย 2% 2 ปีแรก (ดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปีแรก ≤ 5% ต่อปี)
- ยกเว้นดอกเบี้ย 6 เดือนแรก
- วงเงินสูงสุด 150 ล้านบาท
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจรายเดิมของธนาคาร : วงเงินสูงสุด 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกรุงไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 หรือ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แล้วแต่จำนวนใดสูงกว่า แต่ไม่เกิน 150 ล้านบาท (รวมวงเงินสินเชื่อ Soft Loan เดิม)
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจรายใหม่ของธนาคาร : วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาท สำหรับลูกค้าที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564
- ระยะเวลากู้สูงสุด 10 ปี
คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ
- เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย
- กรณีเป็นลูกค้าสินเชื่อธุรกิจรายเดิมของธนาคาร
- มีวงเงินสินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจกับธนาคารไม่เกิน 500 ลบ. ณ 28 ก.พ.64 (ไม่รวมถึงวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค)
- ไม่เป็นลูกหนี้ NPL ณ 31 ธ.ค.62
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจรายใหม่ของธนาคาร ต้องไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่ง ณ 28 ก.พ. 64 (ไม่รวมถึงวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค)
- ไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เว้นแต่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI
- ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
หลักประกัน
- ค้ำประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
- ค่าธรรมเนียม บสย. สูงสุด 1.75% ต่อปี โดยรัฐบาลจ่ายให้ไม่เกิน 3.5% ตลอดการค้ำประกัน
- สามารถใช้หลักประกันอื่นตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนดร่วมด้วยได้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีและค่าธรรมเนียมที่ได้รับการยกเว้น
- ยกเว้น การเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยผิดนัด, ค่าประเมินราคา, ค่าธรรมเนียม Front End Fee, Management Fee, Prepayment Fee, Cancellation Fee และ ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ในช่วง 5 แรกตามที่ พรก. กำหนด
- หลักประกันอื่นขั้นต่ำตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
ช่องทางการลงทะเบียน
- ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือหน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของท่าน
ข้อมูลเพิ่มเติม
- Krungthai Contact Center โทร. 02 111 1111
มาตราการที่ 5: มาตราการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ
- สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท
- สินเชื่อ Term Loan พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 6 เดือน หรือ ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 24 เดือน
- สินเชื่อ P/N และ Trade Finance ขยายเวลาชำระหนี้ สูงสุด 6 เดือน
- สำหรับเงินกู้ 20 – 500 ล้านบาท
- สินเชื่อ Term Loan พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ย สูงสุด 12 เดือน
- สินเชื่อ P/N และ Trade Finance ขยายเวลาชำระหนี้ สูงสุด 6 เดือน
มาตราการที่ 6: มาตราการพักทรัพย์ พักหนี้
- หลักการพิจารณารับโอนทรัพย์ชำระหนี้ และให้สิทธิซื้อทรัพย์คืนในอนาคต*
- ราคาซื้อคืน = ราคาโอน + ต้นทุนการถือครองทรัพย์ (Carrying Cost) 1% ต่อปี + ค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์ที่ธนาคารจ่ายตามจริง -ค่าเช่าทรัพย์หลังตีโอนที่ลูกค้าชำระมาแล้ว
ช่องทางการลงทะเบียน
ข้อมูลเพิ่มเติม
- อ่านเพิ่มเติมคลิก
- ธ.กรุงไทย ทุกสาขา หรือ หน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของท่าน
- Krungthai Contact Center โทร. 02 111 1111
มาตราการที่ 7: โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจธุรกิจไทยมั่นคง
- ลดการผ่อนชำระ ตามความสามารถของลูกค้า
- ยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ตามความเหมาะสม
- เสริมสภาพคล่องตามศักยภาพของลูกค้า
ช่องทางการลงทะเบียน
ข้อมูลเพิ่มเติม
- อ่านเพิ่มเติมคลิก
- ธ.กรุงไทย ทุกสาขา หรือ หน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของท่าน
- Krungthai Contact Center โทร. 02 111 1111
ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต
พักชำระหนี้ 2 เดือนสำหรับลูกค้าสินเชื่อรายย่อย และลูกค้าสินเชื่อ SME
ผู้ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน
- สำหรับลูกค้าสินเชื่อรายย่อย
- ลูกค้าสินเชื่อ SME
พร้อมมาตรการอื่นๆ
- บัตรเครดิต เปลี่ยนยอดคงค้างเป็นยอดผ่อนชำระ 48 งวด พร้อมดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี
- บัตรกดเงินสด เปลี่ยนยอดคงค้างเป็นยอดผ่อนชำระ 48 งวด พร้อมดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี
- สินเชื่อบุคคล ลดยอดผ่อนชำระเหลือ 70% นาน 6 เดือน และลดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22%
- สินเชื่อบ้าน
-
- พักชำระเงินต้น โดยยังคงชำระเฉพาะดอกเบี้ย นาน 6 เดือน หรือ
- ลดยอดผ่อนชำระเหลือ 70% นาน 6 เดือน หรือ
- พักชำระค่างวด ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผลการพิจารณาของธนาคาร สำหรับลูกค้าแต่ละราย
มีบ้านช่วยลดภาระได้
-
- สำหรับลูกค้าที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร สามารถเข้ามาตรการรวมหนี้กับสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยลดภาระค่างวดต่อเดือน และภาระดอกเบี้ย
- สินเชื่อรถยนต์ ทีทีบีไดร์ฟ
- รถยนต์ใหม่ รถยนต์ใช้แล้ว และรถแลกเงิน
*ธนาคารพิจารณาตามความเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย
-
- พักชำระค่างวด
- ลดค่างวด
- ขยายระยะเวลาผ่อนชำระ หรือมาตรการอื่นๆ ที่เหมาะสม
- สินเชื่อเล่มแลกเงิน (รถแลกเงิน แบบลดต้นลดดอก)
-
- พักชำระค่างวด
- อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 22% และลดค่างวดผ่อนชำระต่อเดือนสูงสุด 30% ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
ช่องทางการลงทะเบียน
ข้อมูลเพิ่มเติม
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ช่วยเหลือเกษตรกร บุคคล ผู้ประกอบการ และสถาบันเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
ผู้ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน
- สำหรับผู้ประกอบการและสถาบันเกษตรกร
- สำหรับเกษตรกรและบุคคล
ช่องทางการลงทะเบียน
ข้อมูลเพิ่มเติม
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
พักชำระหนี้และดอกเบี้ย 3 เดือน สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME และสินเชื่อรายย่อนในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของรัฐ
ช่องทางการลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564
- ลูกค้ารายย่อย: แสกน QR Code ในภาพ เพื่อลงทะเบียน
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME: ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแลบัญชีของท่าน
ข้อมูลเพิ่มเติม
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
มาตรการที่ 15 [M 15] : พักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2564 สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ และไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้หรือสถานะกฎหมาย
มาตรการที่ 16 [M 16] : พักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2564 สำหรับลูกหนี้ที่มีสถานะ NPL (ค้างชำระเงินงวดติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน ) หรืออยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้
- สำหรับดอกเบี้ยที่พักชำระเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในระหว่างการใช้มาตรการที่ 15 และ 16 ลูกค้าสามารถทยอยชำระให้เสร็จสิ้นก่อนวันครบกำหนดสัญญากู้เงิน หรือ ปิดบัญชี
ผู้ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน
- ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ลูกค้าทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกจากพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของรัฐและยังไม่สามารถผ่อนชำระเงินงวดได้
ช่องทางการลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564 เวลา 20.00 น.
- Application: GHB ALL
- ต้อง Uplode หลักฐานยืนยันการได้รับผลกระทบทางรายได้ผ่านทาง Application: GHB ALL หรือ GHB Buddy ให้ธนาคารพิจารณา เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ภาพถ่าย หรือ Statement เป็นต้น
- กรณีไม่มีสมาร์ตโฟนสามารถกรอกข้อมูลได้ที่ www.ghbank.co.th
ข้อมูลเพิ่มเติม
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
พักชำระหนี้และกำไร (พักค่างวด) 2 เดือน สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการตามมาตรการควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยไม่ขยายระยะเวลาขอสัญญาและให้นำไปชำระในงวดสุดท้ายตามสัญญาเดิม โดยให้มีผลพักชำระหนี้ในงวดเดือนสิงหาคม – กันยายน 2564
ผู้ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน
- เป็นลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจ SMEs หรือ สินเชื่อธุรกิจรายย่อย MSMEs หรือ สินเชื่ออุปโภคบริโภค
- เป็นผู้ประกอบกิจการหรือลูกจ้าง/พนักงานที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ
- ไม่มีสถานะเป็น NPF ณ วันที่ยื่นขอรับความช่วยเหลือ
หมายเหตุ
- ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ เช่น มีรายได้ลดลงแต่ยังเปิดให้บริการได้ ธนาคารจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการอื่นที่ธนาคารประกาศใช้ในปัจจุบัน เช่น มาตรการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจฯ หรือมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 หรือ มาตรการ Debt Consolidate
ช่องทางการลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564
- ลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจ SMEs แจ้งความประสงค์โดยตรงต่อพนักงานการตลาดสินเชื่อ (RM) หรือผ่านสาขาธนาคาร ลูกค้าสามารถ Download เอกสารคำขอฯ ได้ ที่นี่
- ลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจรายย่อย MSMEs และ ลูกหนี้สินเชื่ออุปโภคบริโภค แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการ โดยดำเนินการดังนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร
มาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อ SME และรายย่อย ทั้งนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการที่ได้ผลกระทบจากการปิดกิจการตามมาตรการการควบคุมฯ ของรัฐ
ลูกค้าสินเชื่อรายย่อย
ธนาคารพร้อมพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าสินเชื่อรายย่อยโดยสอดคล้องกับข้อจำกัดและผลกระทบของลูกค้าเป็นรายกรณีตามข้อตกลงฉบับใหม่ระหว่างลูกค้าและธนาคาร ซึ่งอาจครอบคลุมเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- การลดค่างวดโดยขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้
- การพักชำระค่างวด พร้อมปรับลดค่างวดและขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้
- การให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ เพิ่มเติม ตามข้อกำหนดของแต่ละผลิตภัณฑ์
ลูกค้าสายสินเชื่อธุรกิจ
ธนาคารพร้อมพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจโดยสอดคล้องกับลักษณะธุรกิจข้อจำกัดและผลกระทบของลูกค้าเป็นรายกรณีอาทิ การปรับลดค่างวด การยืดระยะเวลาการผ่อนชำระออกไปให้สอดคล้องกับกระแสเงินสดของกิจการ เป็นต้น นอกจากนี้ ธนาคารยังพร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้าตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (พรก.การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564) อันได้แก่
- มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู)
- มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ (โครงการพักทรัพย์พักหนี้)
ผู้ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน
- สินเชื่อ SME และสินเชื่อรายย่อย หมายรวมถึง สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์, สินเชื่อบุคคล, สินเชื่อบ้านและสินเชื่อเอสเอ็มอีรายย่อย
- ระหว่างการพิจารณาอนุมัติ โปรดดำเนินการชำระค่างวดตามสัญญาเดิม เพื่อรักษาสถานะของบัญชี จนกว่าจะได้รับแจ้งผลการอนุมัติจากธนาคาร
- ลูกค้าจะต้องไม่มีสถานะเป็น NPL ณ วันที่ขอเข้าร่วมมาตรการ และ สามารถพิสูจน์ว่าได้รับผลกระทบจากคำสั่ง ศบค. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารกำหนด
- การพิจารณาอนุมัติเป็นไปตามเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด
ช่องทางการลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564
- ติดต่อที่ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขาทั่วประเทศ
- KKP Contact Center โทร. 02 165 5555 ทุกวัน เวลา 07.00 – 20.00 น.
ข้อมูลเพิ่มเติม
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
สินเชื่อบุคคลเพอร์ซันนัลแคช: พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อรายย่อยที่มีหลักประกัน: พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน
สินเชื่อ SME: พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน
ผู้ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน
- สำหรับลูกค้าที่ยังไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือกับธนาคาร หรือ ลูกค้าที่อยู่ระหว่างได้รับการช่วยเหลือของธนาคารและมีความประสงค์จะสมัครเข้าร่วมมาตรการนี้แทนมาตรการให้ความช่วยเหลือเดิม
- สำหรับลูกค้ารายย่อยต้องไม่เป็นหนี้เสีย หรือ NPL ณ วันที่สมัครหรือลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือโปรแกรมนี้
- หลังจากที่ลงทะเบียน ลูกค้าจะต้องแสดงข้อมูลว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบ เช่น หลักฐานการทำงานหรือเปิดร้านอยู่ในห้างที่ได้รับคำสั่งให้ปิด เช่น ประกาศคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด และประกาศของห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
ช่องทางการลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564
- สินเชื่อบุคคลเพอร์ซันนัลแคช สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อรายย่อยที่มีหลักประกัน ลงทะเบียนผ่านทางไลน์ @CIMBTHAI หรือแสกน QR CODE ในภาพโปสเตอร์
ข้อมูลเพิ่มเติม
- LINE ID: @CIMBTHAI
- ลูกค้าสินเชื่อรายย่อยของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คลิก
- ลูกค้าสินเชื่อรถยนต์ของ บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ คลิก
- ลูกค้าสินเชื่อรถจักรยานยนต์ของ บริษัท เวิล์ดลีส คลิก
- สำหรับลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 รายละเอียดตามลิ้งค์
ธนาคารทิสโก้
มาตรการเฉพาะสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการในพื้นที่ควบคุมการระบาด 13 จังหวัด (หรือตามที่ ศบค.ประกาศเปลี่ยนแปลง/เพิ่มเติม) และนอกพื้นที่ควบคุมพักชำระหนี้เป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยในระหว่างพักชำระหนี้ยังคงมีดอกเบี้ยเกิดขึ้นซึ่งคิดตามอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในสัญญา
- สำหรับสินเชื่อเช่าซื้อในระหว่างพักชำระจะคำนวณดอกเบี้ยจากฐานของค่างวดที่ถูกเลื่อนออกไปทั้งหมด และการพักชำระค่างวดจะทำให้ค่างวดทั้งหมดถูกเลื่อนออกไปทุก ๆ งวด งวดละ 2 เดือน เนื่องจากลูกค้าไม่ได้ชำระหนี้ที่พักทันทีหลังจากพักชำระค่างวด
ตัวอย่าง ค่างวด ๆ ละ 20,000 บาท เหลือค่างวดอีกจำนวน 30 งวด อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตามสัญญา 5% ต่อปี หากพักชำระหนี้ 2 เดือน ค่างวดที่เหลือทั้ง 30 งวดจะถูกเลื่อนออกไปทุก ๆ งวด งวดละ 2 เดือนจะทำให้เกิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวน = 20,000 x 30 x 5% x 2 / 12 = 5,000 บาท
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมมาตรการ
- เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการของทางการทั้งในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 13 จังหวัด (พื้นที่ควบคุม) หรือนอกพื้นที่ควบคุม ได้แก่ นายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งถูกคำสั่งปิดกิจการจนขาดรายได้
- ไม่มีหนี้ค้างชำระ หรือค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ณ วันที่ยื่นคำขอ (ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด)
มาตรการนี้ ไม่ได้เป็นการพักชำระหนี้อัตโนมัติ โดยธนาคารจะพิจารณาข้อมูลหรือหลักฐานว่าลูกค้าเป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้างต้นหรือไม่ รวมถึงพิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขในการชำระหนี้หลังจากพักชำระหนี้ไปในคราวเดียวกัน ดังนั้น ลูกค้าจึงควรเตรียมข้อมูลหรือหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้กระทบจากคำสั่งปิดกิจการในหรือนอกพื้นที่ควบคุมให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการลงทะเบียน
ระยะเวลาลงทะเบียน: ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564
**การพักชำระหนี้ดังกล่าวจะก่อให้เกิดภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากลูกค้ายังคงมีศักยภาพและสามารถชำระหนี้ได้ ควรชำระหนี้ต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ภาระหนี้เพิ่มสูงขึ้นไปอีก
อนึ่ง ลูกค้าสามารถเลือกว่าจะเข้าร่วมมาตรการเฉพาะสำหรับกลุ่มลูกค้าตามข้างต้น หรือมาตรการสำหรับลูกค้าทั่วไปตามด้านล่างได้เพียงมาตรการใดมาตรการหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ลูกค้าควรพิจารณาว่า สถานการณ์ของลูกค้าเหมาะกับมาตรการประเภทใดเพื่อจะได้แก้ปัญหาในอนาคตได้อย่างยั่งยืน
มาตรการสำหรับลูกค้าทั่วไป
สินเชื่อเงินกู้ ประเภทจำนำทะเบียนรถ
- ปรับลดค่างวด ขยายระยะเวลาผ่อนชำระให้สอดคล้องกับความสามารถของลูกค้า เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาสภาพคล่องได้ในระยะยาว หรือ
- หากลูกค้าได้รับผลกระทบจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ สามารถรับความช่วยเหลือโดย
- คืนรถ หากราคาขายรถต่ำกว่าภาระหนี้ ธนาคารจะพิจารณาปรับลดภาระหนี้ส่วนที่เหลือตามความเหมาะสม หรือ
- พักชำระค่างวด โดยธนาคารจะพิจารณาจากศักยภาพของลูกค้า (ในระหว่างพักชำระยังคงมีดอกเบี้ยเกิดขึ้น โดยคิดดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยเดิมในสัญญา)
สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
- ปรับลดค่างวด ขยายระยะเวลาผ่อนชำระให้สอดคล้องกับความสามารถของลูกค้าเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาสภาพคล่องได้ในระยะยาว หรือ
- หากลูกค้าได้รับผลกระทบจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ สามารถได้รับความช่วยเหลือโดย
- คืนรถ หากราคาขายรถต่ำกว่าภาระหนี้ ธนาคารจะพิจารณาปรับลดภาระหนี้ส่วนที่เหลือตามความเหมาะสม หรือ หรือ
- พักชำระค่างวด ในระหว่างพักชำระจะคำนวณดอกเบี้ยจากฐานของค่างวดที่ถูกเลื่อนออกไปทั้งหมด โดยใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตามสัญญา ซึ่งการพักชำระค่างวดจะทำให้ค่างวดทั้งหมดถูกเลื่อนออกไปทุก ๆ งวด โดยจำนวนงวดที่เลื่อนเท่ากับระยะเวลาที่พักชำระหนี้ตัวอย่าง ค่างวด ๆ ละ 20,000 บาท เหลือค่างวดอีกจำนวน 30 งวด อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตามสัญญา 5% ต่อปี หากพักชำระหนี้ 2 เดือน ค่างวดที่เหลือทั้ง 30 งวดจะถูกเลื่อนออกไปทุก ๆ งวด งวดละ 2 เดือนจะทำให้เกิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวน = 20,000 x 30 x 5% x 2 / 12 = 5,000 บาท
สินเชื่อที่อยู่อาศัย
- ปรับลดค่างวด โดยขยายระยะเวลาชำระหนี้
เงื่อนไขการเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ
- เป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยลูกค้าต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงทุกประการพร้อมแสดงหลักฐาน/ข้อมูลว่าได้รับผลกระทบ และหลักฐาน/ข้อมูลพิสูจน์ศักยภาพแก่ธนาคาร
- ต้องมีสถานะบัญชีไม่ค้างชำระ/ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยไม่เกินกว่า 90 วัน ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563 (กรณีมีสินเชื่อกับธนาคารก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2563)
ระยะเวลาลงทะเบียน
- ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564
การพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกค้าแต่ละรายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด โดยธนาคารจะพิจารณาจากผลกระทบที่ลูกค้าได้รับ รวมทั้งข้อมูล เอกสารประกอบที่ลูกค้านำส่ง และธนาคารจะเสนอแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้และความเสี่ยงของลูกค้าต่อไป
หากลูกค้าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวควรเร่งดำเนินการลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ พร้อมให้หลักฐานข้อมูลที่ครบถ้วน รวมถึงเอกสารประกอบที่จำเป็นแก่ธนาคาร เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยเร็ว
สำหรับลูกค้าสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อเงินกู้ ประเภทจำนำทะเบียนรถ
- ลูกค้าสามารถกรอกข้อมูล และส่งเอกสารเพื่อลงทะเบียนขอเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 3
กรณีที่ลูกค้าได้ทำประกันชีวิตกลุ่ม แบบคุ้มครองสินเชื่อ (ALP) ลูกค้าจะได้รับความคุ้มครองตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการประกันชีวิต อย่างไรก็ตาม กรณีที่ลูกค้ามีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือได้รับการผ่อนผันการชำระหนี้จากธนาคาร หากลูกค้าเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง มูลค่าของจำนวนเงินเอาประกันดังกล่าวอาจไม่ครอบคลุมภาระหนี้ที่มีกับธนาคาร ทำให้ผู้มีหน้าที่ชำระหนี้ตามกฎหมายอาจต้องชำระหนี้ส่วนที่เหลือคืนให้แก่ธนาคาร หมายเหตุ : ผู้มีหน้าที่ชำระหนี้ตามกฎหมายได้แก่ ผู้กู้ ผู้ค้ำประกัน ผู้จัดการมรดก และ/หรือทายาท แล้วแต่กรณี
ข้อมูลเพิ่มเติม
- อ่านเพิ่มเติมคลิก
- Call Center โทร. 02 633 6000
ธนาคารไอซีบีซี (ไทย)
มาตรการ ‘พักชำระหนี้ 2 เดือน’
เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการควบคุมโรคติดต่อเชื้อโควิด-19 ทั้งในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และนอกพื้นที่ควบคุมฯ
คุณสมบัติของลูกค้าที่เข้ามาตรการ
- เป็นลูกค้าธุรกิจ SME หรือ ลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคาร
- ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคระบาดติดต่อโควิด-19 ของภาครัฐ ทั้งในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของภาครัฐ
- ไม่เป็นลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ณ วันที่ยื่นขอเข้าร่วมมาตรการ
เงื่อนไขของการเข้าร่วมมาตรการ
- ลูกค้าต้องยื่นคำขอเข้าร่วมมาตรการ ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2564 พร้อมแสดงหลักฐานการได้รับผลกระทบต่อกิจการหรือการจ้างงาน
- มาตรการพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ย มีระยะเวลา 2 เดือน
- ในช่วงระยะเวลาการพักชำระหนี้ ธนาคารยังคงมีการคิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญาสินเชื่อที่ลูกค้าได้ทำให้ไว้กับธนาคาร
- เมื่อพ้นระยะเวลาการพักชำระหนี้แล้ว การชำระหนี้เงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยจะเป็นไปตามข้อตกลงและเงื่อนไขเดิมก่อนช่วงระยะเวลาการพักชำระหนี้ตามที่ระบุในสัญญาสินเชื่อ หรือ ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกับธนาคารต่อไป
- ลูกค้าอาจมีภาระการผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยสูงขึ้น เมื่อพ้นระยะเวลาการพักชำระหนี้
- ในระหว่างการพักชำระหนี้ จะไม่ถือเป็นการผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญาสินเชื่อ และไม่ถือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ธนาคารยูโอบี
พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน สำหรับลูกค้าทั้งนายจ้างและลูกจ้างของกิจการที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปิดกิจการตามมาตรการของรัฐ
ช่องทางการลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564
- สำหรับลูกค้ารายย่อย กรอกแบบฟอร์มขอรับมาตรการช่วยเหลือ ที่นี่
- สำหรับลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ที่ดูแลท่าน หรือ UOB Biz Call Centre โทร. 02 343 3555 อีเมล [email protected]
ข้อมูลเพิ่มเติม
- สำหรับลูกค้ารายย่อย: สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ UOB Call Centre โทร. 02 285 1555
- สำหรับลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอี: UOB Biz Call Centre โทร. 0 2343 3555 E-Mail: [email protected]