ลูกจ้างต้องรู้! สิทธิประกันสังคมปี 2564 และชดเชยคนว่างงานช่วง COVID-19
15,668 ครั้ง
12 ม.ค. 2564
15,668 ครั้ง
12 ม.ค. 2564
ในช่วงนี้สถานการณ์โควิด-19 ได้กลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง ทำให้มนุษย์ออฟฟิศหลายๆ คนกังวลใจเรื่องการเงินและเรื่องของสุขภาพเป็นอย่างมาก วันนี้ทริปเก็ทเตอร์ขอชวนเพื่อนๆ ชาวมนุษย์เงินเดือน (มาตรา 33) และเพื่อนๆ ฟรีแลนซ์ (มาตรา 39) ที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม มาอัปเดตสิทธิกองทุนประกันสังคมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป มีความคุ้มครองด้านไหนบ้างที่เราจะได้เพิ่มและมีเงินสมทบด้านไหนบ้างที่จ่ายน้อยลง ตามมาดูกันเลย!!
ปกติแล้วการส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33 แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ นายจ้างจ่าย 5% ของรายได้ และลูกจ้างจ่าย 5% ของรายได้ สำหรับเงินเดือน 15,000 บาท จะจ่ายไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน โดยอัตราเงินสมทบใหม่จะมีผลต่อผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ดังนี้
ใครได้บ้าง? = ลูกจ้างมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่ยังอยู่ในระบบ
จำนวนเงินที่ได้รับต่อปี (รอบปีปฏิทิน) : ลดเงินสมทบ มกราคม – มีนาคม 2564
จากเดิมผู้ประกันตนในประกันสังคมมาตรา 33 และมาตรา 39 ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 600 บาท แต่ในปีนี้จะปรับเพิ่มขึ้น เงื่อนไขดังนี้
ใครได้บ้าง? = ลูกจ้างที่มีบุตรไม่เกิน 3 คน
จำนวนเงินที่ได้รับต่อปี (รอบปีปฏิทิน) : 800 x 4 = 3,200 บาท
สำหรับลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ในปี 2564 นี้ จะได้รับค่าคลอดบุตรครั้งละ 15,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป จากเดิมผู้ประกันตนจะได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายครั้งละ 13,000 บาท ปัจจุบันปรับค่าคลอดบุตรใหม่จะเพิ่มมาอีก 2,000 บาท
ใครได้บ้าง? = ลูกจ้างเพศหญิงที่กำลังตั้งครรภ์, ลูกจ้างเพศชายที่มีภรรยาตั้งครรภ์
จำนวนเงินที่ได้รับต่อปี (รอบปีปฏิทิน) : 15,000 บาทต่อครั้ง
ลูกจ้างที่ตั้งครรภ์มีโอกาสเข้าถึงการฝากครรภ์ เพื่อให้เข้าตรวจสอบความแข็งแรงของเด็กในครรภ์ ประกันสังคมช่วยค่าฝากครรภ์เพิ่มอีก 500 บาท เป็นปรับเพิ่มค่าฝากครรภ์จากเดิม 1,000 บาท รวมเป็น 1,500 บาท ตลอดอายุครรภ์ โดยต้องยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม พร้อมใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จยืนยันการฝากครรภ์แต่ละไตรมาส ดังนี้
ใครได้บ้าง? = ลูกจ้างเพศหญิงที่กำลังตั้งครรภ์
จำนวนเงินที่ได้รับต่อปี (รอบปีปฏิทิน) : 1,500 บาทต่อ 5 ครั้ง
ตามปกติแล้วผู้ประกันตนจะได้รับเงินกรณีว่างงานจากประกันสังคม จะต้องเป็นผู้ที่ส่งสมทบมาเกิน 180 วัน จึงจะเกิดสิทธิ์ และได้รับเงินชดเชยว่างงาน 30% จากฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท ได้สูงสุด 90 วันต่อปี
วิธีคิดคือ 15,000 x 0.3 x 3 เดือน = 13,500 บาท
ใครได้บ้าง? = ลูกจ้างมาตรา 33
จำนวนเงินที่ได้รับต่อปี (รอบปีปฏิทิน) : สูงสุด 22,500 บาท (ลาออกเองได้ชดเชยสูงสุด 13,500 บาท)
ในกรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินชดเชย ร้อยละ 50 ของฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท แตกต่างจากการว่างงาน ตรงที่ได้รับชดเชยต่อปีสูงสุด 180 วัน เพราะฉะนั้นผู้ที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับการชดเชย ตามวิธีคิดดังนี้ 15,000 x 0.5 x 6 เดือน = 45,000 บาท
ใครได้บ้าง? = ลูกจ้างมาตรา 33 ที่ถูกเลิกจ้าง
จำนวนเงินที่ได้รับต่อปี (รอบปีปฏิทิน) : 45,000 บาท
หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน
ลิ้งก์ดาวน์โหลด: แบบคําขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)