tripgether.com

เมื่อต้องไปร่วมงานศพผู้ป่วย ‘โควิด-19’ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร? ให้ปลอดภัยจากโควิด-19

4,680 ครั้ง
11 พ.ค. 2564

ช่วงนี้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยกลับมารุนแรงอีกครั้ง ทำให้มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการแพร่ระบาดกระจายไปทั่วทุกจังหวัดของประเทศ จึงพบผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มที่มีโรคประจำตัว ติดเชื้อมาจากคนในครอบครัวและที่ทำงาน เราจึงอยากจะมาแนะนำข้อปฏิบัติเมื่อต้องไปร่วมพิธีจัดงาน และหากเป็นญาติผู้ป่วยจะต้องทำอย่างไร 

โควิด-19


เพื่อความปลอดภัยและเป็นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น จึงมีมาตรการให้จัดงานศพเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น! วันนี้ทริปเก็ทเตอร์จึงเตรียมคำแนะนำ และข้อปฏิบัติตัวมาฝากเพื่อนๆ กัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เข้าร่วมพิธีควรรู้ไว้! 

ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิต ต้องเสียชีวิตลงอย่างเดียวดายภายในห้อง ICU เนื่องจากโควิด-19 เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายและมีความรุนแรง แพทย์จึงไม่สามารถให้ญาติๆ เข้าไปดูใจในวาระสุดท้ายได้ แต่สิ่งที่ญาติจะสามารถทำได้ก็คือ การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้เสียชีวิต

แนวทางการจัดงานศพผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19

  1. ผู้ป่วยที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลจะมีการราดน้ำยาฆ่าเชื้อและนำสำลีชุบน้ำยาฆ่าเชื้ออุดทางรูทวาร
  2. เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตสารคัดหลั่งที่อยู่ในศพยังจะสามารถแพร่กระจายเชื้อได้
  3. บรรจุใส่ถุงซิปล็อค 3 ชั้น โดยทุกชั้นจะราดน้ำยาฆ่าเชื้อและใช้น้ำฆ่าเชื้อโรคทาด้านนอกถุงเก็บศพ จากนั้นบรรจุเข้าโลงจึงเป็นเรื่องยากที่เชื้อจะทะลุจากถุง 3 ชั้นออกมานอกโลงได้
  4. ห้ามเปิดถุงเก็บศพโดยเด็ดขาด! จะไม่มีการอาบน้ำศพ รดน้ำศพ เปลี่ยนเสื้อผ้า และฉีดยารักษาศพ
  5. บรรจุศพพร้อมถุงลงในโลงศพและปิดฝาโลงให้สนิท ญาติสามารถนำศพไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้อย่างปลอดภัย
  6. สามารถสัมผัสถุงศพภายนอกโดยต้องสวมถุงมือยางแบบใช้แล้วทิ้งชั้นเดียว และสวมหน้ากากอนามัย แต่ไม่แนะนำให้สัมผัสถุงศพโดยไม่จำเป็น
  7. การเผาหรือฝังศพจะไม่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อ
  8. เชื้อโควิด-19 ไม่แพร่เชื้อผ่านควันจากการเผาศพ และญาติสามารถเก็บเถ้ากระดูกได้ตามปกติ เพราะเชื้อถูกทำลายด้วยอุณหภูมิที่สูงไปหมดแล้ว

ข้อปฏิบัติสำหรับศาสนิกชนผู้เข้าร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

  1. ก่อนการเข้าร่วมพิธีกรรมในศาสนสถาน ควรสวมหน้ากาอนามัย ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ 70%
  2. ล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งที่มีบุคคลอื่นสัมผัสด้วยกันจำนวนมาก เช่น ลูกบิดประตู หลังสือ ราวบันได
  3. ผู้ที่มีอาการป่วย เช่น มีน้ำมูก เจ็บคอ มีไข้ ไอ แม้จะมีอาการไม่มาก ให้งดการเข้าร่วมประกอบพิธีกรรม
  4. ผู้เข้าร่วมประกอบพิธีกรรมไม่ควรใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อนอาหาร หลอดดูดน้ำ เครื่องนุ่งห่ม ผ้าต่างๆ เป็นต้น
  5. งดการใช้น้ำอุปโภค บริโภค อ่างน้ำ หรือบ่อน้ำร่วมกัน
  6. สังเกตอาการผู้เข้าร่วมประกอบพิธีกรรม หากมีอาการไอ จาม ผิดปกติ ให้แยกนั่งห่างจากผู้อื่น

COVID-19

ข้อมูลจาก: แนวทางการจัดการศพติดเชื้อหรือสงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับปรับปรุงใหม่


ผู้เขียน

ampampaamp
นัก(หัด)เขียน ที่ฝันอยากใช้ชีวิตเรียบง่าย เงียบสงบ กับธรรมชาติ ,ชื่นชอบเรื่องไลฟ์สไตล์ การแต่งบ้าน เบเกอรี่ พอๆ กับการท่องเที่ยว แต่มักใช้เวลาว่างหมดไปกับการนอนดูซีรีส์

เรื่องที่คุณอาจสนใจ