tripgether.com

เงื่อนไขใหม่! วัคซีน Pfizer สำหรับบุคลากรการแพทย์ที่จะได้รับสิทธิ์

3,623 ครั้ง
2 ส.ค. 2564

ช่วงนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก กระทรวงสาธารณสุข ประกาศปรับเกณฑ์วัคซีน Pfizer ในเข็มที่ 3 ใหม่แล้ว ซึ่งในวันที่ 2 สิงหาคม 2564 หลังจากได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทางโซเชียลเป็นวงกว้างถึงเกณฑ์การรับวัคซีนเดิมที่ให้กับบุคลากรที่ฉีด Sinovac แล้ว 2 เข็มเท่านั้น ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับวัคซีนไม่ทั่วถึง


เงื่อนไขใหม่! วัคซีน Pfizer สำหรับบุคลากรการแพทย์ที่จะได้รับสิทธิ์

เงื่อนไขใหม่! วัคซีน Pfizer สำหรับบุคลากรการแพทย์ที่จะได้รับสิทธิ์


นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยถึง มติของคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ครั้งที่ 4/2564 วันที่ 1 สิงหาคม 2564 เรื่องคำแนะนำการให้วัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. Sinovac หรือ Sinopharm ครบ 2 เข็ม จะได้รับ Pfizer 1 เข็ม
  2. บุคลากรที่ได้รับวัคซีนแล้วเพียง 1 เข็ม จะได้รับ Pfizer 1 เข็ม กำหนดระยะห่างระหว่างโดสตามชนิดของวัคซีนเข็มที่ 1
  3. บุคลากรที่ไม่เคยได้รับวัคซีนเลย จะได้รับ Pfizer 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์
  4. บุคลากรที่เคยติดเชื้อ COVID-19 และไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน จะได้รับ Pfizer 1 เข็ม

 

สำหรับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ยังไม่พิจารณาให้วัคซีน Pfizer เพราะยังมีภูมิคุ้มกันสูง ดังนี้

  1. ได้รับวัคซีน Sinovac เข็มแรก + AstraZeneca เข็มที่ 2 (สูตรสลับไขว้)
  2. ได้รับวัคซีน AstraZeneca ครบ 2 เข็ม
  3. ได้รับวัคซีน Sinovac 2 เข็ม + ได้รับเข็มกระตุ้นด้วย AstraZeneca 1 เข็ม

จากการพิจารณาพบว่า บุคลากร 3 กลุ่ม ยังคงมีภูมิคุ้มกันที่มีมากพอต่อการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ยังไม่แนะนำให้รับวัคซีน Pfizer เป็นเข็มกระตุ้น และยังไม่มีข้อมูลวิชาการสนับสนุนว่าจะฉีดวัคซีนกระตุ้นอีกครั้งเมื่อใด โดยจะให้มีการลงทะเบียนเอาไว้ก่อน ก่อนจะได้มีการพิจารณาข้อมูลทางวิชาการและดำเนินการฉีดวัคซีน Pfizer ตามข้อมูลวิชาการและวัคซีนที่จะมีเข้ามาเพิ่มเติมในระยะต่อไป 

เงื่อนไขใหม่! วัคซีน Pfizer สำหรับบุคลากรการแพทย์ที่จะได้รับสิทธิ์

สำหรับเกณฑ์ของวัคซีน Pfizer 1.5 ล้านโดสที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐฯ นั้น จะจัดสรรให้กับ

  • บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าทั่วประเทศ 700,000 โดส
  • ผู้สูงอายุ กลุ่ม 7 โรคเรื้อรังอายุ 12 ปีขึ้นไป และคนท้อง 12 สัปดาห์ขึ้นไป กลุ่มเสี่ยงต่ออาการรุนแรงใน 13 จังหวัดสีแดงเข้ม 645,000 โดส
  • ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับข้อที่ 2 และคนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศ เช่น นักเรียน นักศึกษา 150,000 โดส
  • การศึกษาวิจัย โดยอนุมัติของคณะกรรมการวิจัยจริยธรรม 5,000 โดส
  • สำรองสำหรับควบคุมโรคในพื้นที่ระบาด ของสายพันธุ์ เบตา 3,450 โดส

ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ


ผู้เขียน

ampampaamp
นัก(หัด)เขียน ที่ฝันอยากใช้ชีวิตเรียบง่าย เงียบสงบ กับธรรมชาติ ,ชื่นชอบเรื่องไลฟ์สไตล์ การแต่งบ้าน เบเกอรี่ พอๆ กับการท่องเที่ยว แต่มักใช้เวลาว่างหมดไปกับการนอนดูซีรีส์

เรื่องที่คุณอาจสนใจ