เช็คอาการ! โควิดสายพันธุ์เดลต้า ตัวร้าย! แพร่เร็วกลายพันธุ์หนีภูมิคุ้มกัน
3,825 ครั้ง
9 ก.ค. 2564
3,825 ครั้ง
9 ก.ค. 2564
ปัจจุบันในประเทศไทยพบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึง 3 สายพันธุ์คือ สายอัลฟ่า (Alpha) จากอังกฤษ สายพันธุ์เดลต้า (Delta) จากอินเดีย และสายพันธุ์เบต้า (Beta) จากแอฟริกา ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะมีการแพร่กระจายที่แตกต่างกันออกไป พร้อมทั้งในตอนนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกอย่าง สายพันธุ์แลมบ์ด้า (lambda) ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากในขณะนี้ ประเทศไทยได้มีการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิดที่ได้มาตรฐานโลกแต่ยังไม่เข้าประเทศไทย วันนี้ทริปเก็ทเตอร์อยากพามาทำความรู้จักกับโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า (Delta) เช็คอาการ! โควิดสายพันธุ์เดลต้า ตัวร้าย! แพร่เร็วกลายพันธุ์หนีภูมิคุ้มกัน ก่อนเพื่อให้เราได้มีการเตรียมตัวกับการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้าในประเทศไทย ณ ขณะนี้! ตามมา เช็คอาการ! โควิดสายพันธุ์เดลต้า ตัวร้าย! แพร่เร็วกลายพันธุ์หนีภูมิคุ้มกัน
เป็นแขนงหนึ่งที่มาจากสายพันธุ์ B.1.617 (ชื่อทางวิทยาศาตร์) ของเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งทำให้เกิดโรคโควิด-19 สำหรับสายพันธุ์ B.1.617 ได้ตรวจพบครั้งแรกในอินเดียเมื่อปลายปี 2020 เช่นเดียวกับแขนงอื่นของมันคือ B.1.617.2 ซึ่งเป็นการแตกแขนงลำดับที่ 2 ที่ได้รับการตั้งชื่อโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าสายพันธุ์เดลต้า (Delta variant) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2021
สายพันธุ์เดลต้า (Delta) กำลังเป็นที่จับตามองในประเทศไทย ณ ขณะนี้ นอกจากนี้ยังพบการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้า พลัส (Delta Plus) ซึ่งตัวสายพันธุ์เดลต้าเองมีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษ แต่สายพันธุ์เดลต้า พลัสที่มีการกลายพันธุ์บริเวณหนามโปรตีน K417N ส่งผลให้ติดเชื้อง่ายขึ้นและสามารถหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดียิ่งขึ้น
โดยมากแล้วอาการที่แสดงออกมามักจะมีความใกล้เคียงกัน สำหรับโควิดสายพันธุ์เดลต้านั้นจะมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา
จากอาการที่กล่าวมานั้นเป็นอาการที่อาจสังเกตได้ยาก หรือทำให้ผู้ป่วยบางคนคิดไปเองว่าตนเองไม่ได้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้า ดังนั้นเมื่อมีไข้ไม่สบายให้คอยสังเกตอาการตนเอง และหากมีอาการอื่นๆ ที่เข้าข่ายติดเชื้อโควิด-19 ให้รีบพบแพทย์ทันที
อาการโควิดทั่วไป
อาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย
รู้ไว้ใช่ว่า.. | 10 เรื่องต้องรู้สู้ ‘โควิด-19’
เนื่องจากการกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์เดลต้า พลัส เพิ่มคุณสมบัติในการหลบภูมิคุ้มกันได้ดี จากผลการทดลองยืนยันว่า วัคซีนประเภท mRNA (ไฟเซอร์, โมเดอร์นา) และประเภทวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะมีประสิทธิภาพในการรับมือได้ดีกว่าวัคซีนชนิดอื่น
ขอบคุณข้อมูลจาก: โรงพยาบาลเพชรเวช