tripgether.com

มาทำความรู้จักโควิด-19 สายพันธุ์ ‘เอปซิลอน’ ระบาดเร็ว แถมดื้อเชื้อ mRNA

3,183 ครั้ง
11 ส.ค. 2564

โควิด-19 ที่ระบาดอยู่ขณะนี้ก็น่ากลัวอยู่แล้ว ปัจจุบันนี้มีเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์เกิดขึ้นเพียบ วันนี้ทริปเก็ทเตอร์ชวนมาทำความรู้จักโควิด-19 สายพันธุ์ ‘เอปซิลอน’ ระบาดเร็ว แถมดื้อเชื้อ mRNA ที่กำลังแพร่ระบาดในกรุงลาฮอร์ของประเทศปากีสถานกลายเป็นที่พูดถึงในชั่วข้ามคืนในแถบภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะในอินเดียที่ซึ่งมีพรหมแดนติดกันพร้อมทั้งได้รับผลกระทบจากสายพันธุ์เดลตา จนทำให้เกิดความกังวลว่าจะรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19


มาทำความรู้จักโควิด-19 สายพันธุ์ ‘เอปซิลอน’ ระบาดเร็ว แถมดื้อเชื้อ mRNA

มาทำความรู้จักโควิด-19 สายพันธุ์ ‘เอปซิลอน’ ระบาดเร็ว แถมดื้อเชื้อ mRNA


โควิด-19 สายพันธุ์แคลิฟอร์เนีย ที่เคยติดลิสต์เป็นสายพันธุ์ที่น่าจับตามองจากทั่วโลกมาก่อน ด้วยความสามารถของสายพันธุ์นี้ที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมที่ถูกพบในประเทศแถบเอเชีย จึงสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก วันนี้เราเตรียมข้อมูลของสายพันธุ์นี้มาให้ทำความรู้จักกันตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้เราระมัดระวังตัวให้มากขึ้น

โควิด-19 สายพันธุ์ เอปซิลอน (Epsilon) หรือสายพันธุ์แคลิฟอร์เนีย เพราะเกิดการแพร่ระบาดในรัฐแคลิฟอร์เนีย จนต่อมาเมื่อองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศวิธีเรียกชื่อสายพันธุ์ใหม่ จึงได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า เอปซิลอน ซึ่ง WHO ยกให้เป็นไวรัสกลายพันธุ์ที่น่าจับตามอง อีกทั้งคนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 แล้วยังสามารถกลับมาติดเชื้อได้อีก

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ สายพันธุ์นี้ถูกเรียกว่า CAL.20C แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ย่อย

  • B.1.427
  • B.1.429

พบครั้งแรก

  • ในเดือนมีนาคม 2020 รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา 

ลักษณะของสายพันธุ์

มีผลการศึกษาเบื้องต้นว่า อัตราการแพร่ระบาด เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ปกติ สูงขึ้น 18.6 – 24.2% ขณะที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) สายพันธุ์เอปซิลอนมีความสามารถในการแพร่ระบาดสูงกว่าสายพันธุ์ปกติประมาณ 20% เช่นกัน ซึ่งมีการกลายพันธุ์ที่น่ากลัวอยู่ใน 5 ตำแหน่ง คือ I4205V และ D1183Y ในยีน ORF1ab S13I, W152C, L452R ในยีน S ของโปรตีนหนาม

มีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันได้ระบุว่า การกลายพันธุ์ 3 ตำแหน่งในโปรตีนหนาม S13I, W152C, L452R ของโควิด-19 เอปซิลอน สามารถลดศักยภาพแอนติบอดีของผู้ที่ได้รับวัคซีน mRNA อย่าง Pfizer และ moderna หรือภูมิที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ โดยมีความสามารถในการต่อต้านสายพันธุ์เอปซิลอนจะลดลงประมาณ 2 -3.5 เท่าตัว หรือ 50 – 70%

การกลายพันธุ์ของโปรตีนหนาม L452R ซึ่งกลายพันธุ์ที่เพิ่มความสามารถในการเกาะเซลล์ สามารถลดแอนติบอดีที่เกิดจากวัคซีนโควิด-19 ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น พร้อมทั้งมีฤทธิ์ดื้อต่อ T-Cell เป็นเซลล์ที่จำเป็นต่อการกำหนดเป้าหมายและทำลายเซลล์ที่ติดไวรัส

โควิด-19 สายพันธุ์เอปซิลอนยังลดประสิทธิภาพการรักษาด้วยโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody) ในระดับปานกลาง รวมถึงลดประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันของยารักษาโรคทั้งยา bamlanivimab และยา etesevimab 

ปัจจุบันพบการระบาดอย่างน้อย 46 ประเทศทั่วโลก พบมากที่สุดในแถบทวีปอเมริกา และตอนนี้พบรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เอปซลอนคืบคลานเข้ามาในภูมิภาคเอเชียของเราแล้ว จึงเป็นโควิด-19 อีกหนึ่งสายพันธุ์ที่เราต้องให้ความสนใจ

มาทำความรู้จักโควิด-19 สายพันธุ์ ‘เอปซิลอน’ ระบาดเร็ว แถมดื้อเชื้อ mRNA

เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern หรือ VOC) ได้แก่

  • อัลฟา (Alpha) ตรวจพบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร
  • เบตา (Beta) ตรวจพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้
  • แกมมา (Gamma) ตรวจพบครั้งแรกในบราซิล
  • เดลตา (Delta) ตรวจพบครั้งแรกในอินเดีย

เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ที่น่าจับตามอง (Variants of Interest หรือ VOI) ได้แก่

  • เอปซิลอน (Epsilon) ตรวจพบครั้งแรกในสหรัฐฯ
  • ซีตา (Zeta) ตรวจพบครั้งแรกในบราซิล
  • อีตา (Eta) ตรวจพบครั้งแรกในหลายประเทศ
  • ธีตา (Theta) ตรวจพบครั้งแรกในฟิลิปปินส์
  • ไอโอตา (Iota) ตรวจพบครั้งแรกในสหรัฐฯ
  • แคปปา (Kappa) ตรวจพบครั้งแรกในอินเดีย

ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ


ผู้เขียน

ampampaamp
นัก(หัด)เขียน ที่ฝันอยากใช้ชีวิตเรียบง่าย เงียบสงบ กับธรรมชาติ ,ชื่นชอบเรื่องไลฟ์สไตล์ การแต่งบ้าน เบเกอรี่ พอๆ กับการท่องเที่ยว แต่มักใช้เวลาว่างหมดไปกับการนอนดูซีรีส์

เรื่องที่คุณอาจสนใจ