กทม. ผ่อนปรนอนุญาตให้เปิดกิจการได้ 13 สถานที่
143,609 ครั้ง
5 พ.ค. 2563
143,609 ครั้ง
5 พ.ค. 2563
คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร มีมติให้เปิดบางสถานที่และบางกิจกรรมที่ได้มีการสั่งปิดชั่วคราวไปก่อนหน้านี้ได้กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการการควบคุมดูแลการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคสิด-19 จะดีขึ้น โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3-31 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
โดยสรุปให้ 13 สถานที่และกิจกรรมสามารถกลับมาเปิดให้บริการได้ ดังนี้
โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการดังนี้
เจ้าของ/ผู้ประกอบการ/ผู้จัดการ
– ร้านอาหารที่มีพื้นที่มากกว่า 200 ตารางเมตร ต้องมีการตรวจคัดกรองอุณหภูมิพนักงานทุกคนและลูกค้าทุกคน
– ร้านอาหารที่มีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร ให้มีมาตรการคัดกรอง อาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับพนักงานและผู้ใช้บริการทุกคนตามขีดความสามารถ
– ควรจำกัดคนเข้าออกห้างสรรพสินค้า เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อพื้นที่โดยเน้นระยะห่างระหว่างผู้เข้าใช้บริการตามกำหนด
– จัดเว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะที่นั่งไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร หากพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการเว้นระยะห่าง 1.5 เมตร ต้องมีฉากกั้นระหว่างที่นั่ง แต่ยังต้องเว้นระยะห่างที่นั่งไม่น้อยกว่า 1 เมตร
– งดให้บริการบุฟเฟ่ต์ที่มีไลน์อาหารที่ลูกค้าตักเอง หรือหยิบเอง แต่สามารถให้บริการอาหารบุฟเฟ่ต์จากรายการอาหารได้
– ร้านอาหาร หรือร้านเครื่องดื่มที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เปิดได้ แต่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
– งดการเล่นดนตรี หรือการแสดงสด
– ต้องมีฉากกั้น/แผ่นใสระหว่างลูกค้าและอาหาร
– ทำความสะอาดแผงลอยและรถเข็น ด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาดเป็นประจำหลังการขาย
– ในร้านต้องมีจุดล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์ 70% สำหรับล้างมือ ณ จุดเข้า-ออก และบริเวณต่างๆ ของร้านตามความเหมาะสมของพื้นที่
– ต้องทำความสะอาดห้องน้ำทุก 2 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย หากไม่สามารถทำได้ให้งดใช้ห้องน้ำ
– ทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอี้ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาฟอกขาว) 0.1% ทุกครั้งเมื่อลูกค้าใช้บริการเสร็จ
– ทำความสะอาด พื้น ทางเดิน ราวบันได ห้องน้ำ ลูกบิดจับประตู บริเวณเคาน์เตอร์ชำระเงิน ตะกร้าใส่ของ ด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และต้องกำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
– สำหรับร้านอาหารที่ติดแอร์ ต้องมีมาตรการเปิด-ปิดร้านอาหารเป็นช่วงเวลา เพื่อมีเวลาทำความสะอาดและระบายอากาศเป็นระยะๆ
– ต้องมีมาตรการเข้มงวดในการทำความสะอาดภาชนะ จาน ชาม ช้อน ส้อม และอุปกรณ์ต่างๆ
– เพิ่มช่องทางการชำระค่าบริการแบบ E-Payment หรือจ่ายเงินผ่าน QR Code เพื่อลดการสัมผัส
– ใช้วัสดุอุปกรณ์หยิบจับอาหารปรุงสุก ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารโดยตรง และทำความสะอาดอุปกรณ์ เช่น คีบ มีด เขียง ทุกครั้งหลังใช้งาน
– การต่อแถวซื้ออาหาร หรือรอเข้าร้าน จะต้องมีระบบเข้าแถวเว้นระยะห่างลูกค้าอย่างน้อย 1 เมตร
– อาหารที่ปรุงเสร็จจะต้องมีการปกปิดเพื่อป้องกันฝุ่นละออง แมลง และสัตว์นำโรค ควรวางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร ไม่ควรวางรอบริการเกิน 4 ชั่วโมง และควรอุ่นอาหารทุก 2 ชั่วโมง
– ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเฉพาะบุคคล
– ชุดเครื่องปรุงแนะนำให้ใช้แบบซอง
– จัดระเบียบสินค้าแยกเป็นหมวดหมู่ตามประเภทของสินค้า ไม่ปะปนกัน เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค
– การจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ ควรปรุงสดใหม่ สำหรับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต้องปรุงให้สุกด้วยความร้อนไม่น้อยกว่า 70 องศาเซลเซียส หลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ปรุงไม่สุก และควรติดฉลากระบุรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น วัน/เดือน/ปี เวลาที่ผลิต เป็นต้น
– การขายอาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ไม่ควรให้ลูกค้าสัมผัสอาหารสดนั้นโดยตรง
– เพิ่มช่องทางการสั่งจอง จัดเตรียมสินค้าล่วงหน้า เพื่อความรวดเร็วในการติดต่อซื้อขายแบบ Pick Up
– จัดให้แผงขายของมีระยะห่างระหว่างผู้ขายแต่ละร้านอย่างน้อย 1 เมตร
– ทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วมสาธารณะของตลาด โดยเน้นจุดที่เสี่ยงจะมีผู้สัมผัสมาก เช่น ที่จับสายชำระ โถปัสสาวะ ลูกบิด กลอนประตู ก็อกน้ำ ฯลฯ ด้วยผงซักฟอก น้ำยาทำความสะอาด หรือน้ำยาฟอกขาว (โซเดียมไฮโปคลอไรท์) 0.1% แล้วล้างออกด้วยน้ำให้สะอาดทุกๆ 2 ชั่วโมง
– งดการบริการเครื่องเล่นสำหรับเด็กที่อยู่ภายในบริเวณตลาด เช่น บ้านลม ม้าหมุน บ้านบอล ฯลฯ
– ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เก็บขยะมูลฝอย ดูแลทำความสะอาดพื้นที่ ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย สวมถุงมือยาง ผ้ายางกันเปื้อน สวมรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง และใส่ถุงขยะปิดปากถุงให้มิดชิด และให้กำจัดขยะมูลฝอย และขยะติดเชื้อทุกวัน
– เจ้าของ หรือผู้จัดการสถานที่ทุกประเภทจะต้องรับผิดชอบการดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่ภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้และจัดระบบอื่นๆ ให้เป็นไปตามคำแนะนำเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่ราชการกรุงเทพมหานคร หรือทางราชการกำหนด
พนักงานผู้ให้บริการ
– พนักงานในร้านต้องแต่งกายสะอาด รวบผมใส่หมวก ใส่ถุงมือ สวมผ้ากันเปื้อน และสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดระยะเวลาการให้บริการ
– หากพนักงานที่มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ หรือมีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส หยุดปฏิบัติงานทันที ให้ไปพบแพทย์ และให้สังเกตอาการที่บ้าน
– พนักงานปรุงอาหารต้องล้างมือทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร
– พนักงานเสิร์ฟต้องล้างมือทุกครั้งก่อนเสิร์ฟอาหาร
– พนักงานเสิร์ฟควรใช้การพูดคุยในระดับเสียงปกติ ไม่ตะโกน และไม่เปิดหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า
– พนักงานควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์ 70% สำหรับล้างมือ ตั้งแต่เข้าทำงาน ก่อนการเตรียมอาหาร ระหว่างและหลังปรุงอาหารเสร็จ หลังจับเงิน ขยะ หรือเศษอาหาร หลังสูบบุหรี่ หลังทำความสะอาด และหลังเข้าห้องน้ำ
ผู้ใช้บริการ
– ลูกค้าที่มาใช้บริการทุกคนต้องรักษาสุขอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์ 70% สำหรับล้างมือ ก่อนและหลังใช้บริการทุกครั้ง
– หากมีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ หรือมีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส ไม่ให้เข้ารับบริการ และควรไปพบแพทย์ทันที พร้อมสังเกตอาการที่บ้าน
– ระหว่างนั่งรับประทานอาหารหากมีการไอ หรือจามให้ปิดปากและจมูกให้สนิท
– แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่กรณีพบการไม่ปฏิบัติตามมาตรการ
โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการดังนี้
เจ้าของ/ผู้ประกอบการ/ผู้จัดการ
– ให้บริการเฉพาะสระ ตัด ซอยผม แต่งผม (ไดร์ผมภายหลังจากการสระผม) เท่านั้นเพราะใช้เวลาน้อย การเสริมสวยอื่นๆ ยังไม่ให้เปิดบริการ
– ต้องคัดกรองอุณภูมิร่างกายผู้เข้าใช้บริการ และพนักงานก่อนเข้าร้านตามขีดความสามารถ
– งดการรอรับบริการภายในร้าน ให้ควบคุมการจำนวนผู้เข้าใช้บริการไม่ให้เกิดความแออัด ด้วยการลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการสัมผัสระหว่างกัน
– จัดให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ 70% สำหรับล้างมือ
– กำหนดรอบเวลาเปิดและเวลาทำความสะอาดอุปกรณ์ให้ปลอดเชื้อเป็นระยะๆ โดยเปิดรอบละ 2 ชั่วโมง แล้วหยุดเพื่อทำความสะอาด
– เจ้าของร้านทำตารางเวลาทำความสะอาดไว้เป็นหลักฐาน จัดเก้าอี้ทำผมของลูกค้าให้ห่างกันอย่างน้อย 1.5 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ปลอดภัยจากการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากการไอ จาม และพูดคุย
– ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันหลายคน ได้แก่ เก้าอี้ทำผม ผ้าคลุมตัว เตียงสระ ไดร์เป่าผม หวี กรรไกร และปัตตาเลี่ยน หน้ากากสเปรย์ ด้วยแอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ทุกครั้งหลังมีลูกค้า
– ทำความสะอาดสถานที่ภายในร้าน พื้น ห้องน้ำ เก้าอี้ตัดผม เตียงสระ ในส่วนที่ลูกค้ามีโอกาสสัมผัส เช่น ราวบันได ลูกบิดจับประตู เคาน์เตอร์ ด้วยผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุก 2 ชั่วโมง-ควรจดบันทึกรายชื่อ เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ วันที่และเวลาที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ เพื่อสามารถติดตามตัวได้ ในกรณีต้องมีการสอบสวนโรค หรือจัดให้มีการใช้ระบบติดตามแบบ Application
– ควรหันมารับชำระเงินผ่าน QR Code แทนการรับและทอนเงินสด
– พนักงานในร้านควรรักษาสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด เช่น ล้างมือก่อนและหลังให้บริการทุกครั้ง ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค 70%
– ไม่รวมกลุ่มรับประทานอาหาร ไม่ใช้ภาชนะส่วนตัวร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ จาน ช้อน เป็นต้น
– ควรลดการพูดคุยระหว่างผู้ให้บริการกับลูกค้าให้น้อยที่สุด เปลี่ยนมาใช้ระบบจองคิว หรือสามารถพูดคุยตกลงกันผ่าน Facebook หรือ Line ควรตกลงกันล่วงหน้าก่อนเพื่อให้การพูดคุยภายในร้านเกิดขึ้นน้อยที่สุด
– ควรจำกัดระยะเวลาในการให้บริการของลูกค้าแต่ละรายไม่เกินคนละ 1 ชั่วโมง
– จัดให้มีการระบายอากาศที่ดีภายในร้าน และทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศภายในร้านอย่างสม่ำเสมอ
– เจ้าของ หรือผู้จัดการสถานที่ทุกประเภทจะต้องรับผิดชอบการดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่ภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้และจัดระบบอื่นๆ ให้เป็นไปตามคำแนะนำเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่ราชการกรุงเทพมหานคร หรือทางราชการกำหนด
พนักงานผู้ให้บริการ
– พนักงานต้องสวมหน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย อย่างถูกวิธีโดยปิดทั้งจมูกและปาก ใส่ face shield ไว้ตลอดเวลาขณะให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ
– งดเว้นการให้บริการตัดขนจมูก แคะหู ล้างตา นวด และการบีบ แคะ แกะ เกา จับ ลูบ ใบหน้าของลูกค้า
– ระหว่างที่สระผมให้ลูกค้าใช้หน้ากากกันสเปรย์ ป้องกันไอจากการพูดคุยและตกบนใบหน้าของผู้ใช้บริการ
– หากพนักงานมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ หรือมีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส หยุดปฏิบัติงานทันทีไปพบแพทย์และสังเกตอาการที่บ้าน
– หลังจากให้บริการต้องล้างมือด้วยสบู่ และแอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนหยิบจับของใช้ส่วนตัว
– ห้ามรับประทานอาหารในพื้นที่ให้บริการ
– ลดการพูดคุยที่ไม่จำเป็นระหว่างการให้บริการ
– ควรอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งเมื่อกลับถึงบ้าน
ผู้ใช้บริการ
– ผู้ใช้บริการทุกคนต้องรักษาสุขอนามัย ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะใช้บริการ
– หากผู้ใช้บริการมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ หรือมีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส งดเข้าร้าน ให้ไปพบแพทย์ และสังเกตอาการที่บ้าน
– ห้ามรับประทานอาหารในพื้นที่ให้บริการ
– นั่งห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
– ผู้ใช้บริการไม่ควรนำมือไปสัมผัสหน้า จมูก หรือตา ขณะใช้บริการภายในร้าน หากผู้ใช้บริการ ไอ หรือจาม ควรใช้กระดาษทิชชูปิด หรือใช้ศอกบัง
– ให้แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่กรณีพบการไม่ปฏิบัติตามมาตรการ
โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการดังนี้
เจ้าของ/ผู้ประกอบการ/ผู้จัดการ
– ให้มีจุดคัดกรอง ตรวจอุณหภูมิร่างกาย ทั้งพนักงาน และผู้ใช้บริการก่อนเข้าไปใช้บริการบริเวณจุดทางเข้า
– จัดระบบการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร สำหรับพื้นที่ส่วนกลางที่ใช้ร่วมกัน
– จำกัดให้มีทางเข้าออกเฉพาะ เพื่อจำกัดจำนวนคนเข้าให้เหมาะสมต่อพื้นที่โดยเน้นการเว้นระยะห่างระหว่างผู้เข้าใช้บริการ
– บริการร้านอาหารหรือคลับเฮาส์ ต้องปฏิบัติตามมาตรการการจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่ม ดังน้ี
(1) จัดระบบการเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง (บุคคล) ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร หรือกรณีมีระยะห่างระหว่างที่นั่ง (บุคคล) น้อยกว่า 1.5 เมตร ต้องจัดให้มีฉากกั้นระหว่างที่นั่ง (บุคคล) แต่ทั้งนี้ระยะห่างระหว่างที่นั่ง (บุคคล) ต้องไม่น้อยกว่า 1 เมตร
(2) ร้านอาหาร หรือเครื่องดื่มซึ่งจำหน่ายสุรา ให้เปิดได้แต่ห้ามมีการบริโภคสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
(3) งดการเล่นดนตรี หรือแสดงสด
(4) มีฉากกั้นแผ่นใสระหว่างลูกค้าและอาหาร
(5) ทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอี้ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อ เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาฟอกขาว) 0.1% ทุกครั้งหลังจากลูกค้าใช้บริการเสร็จ
(6) มีมาตรการเข้มงวดกับการทำความสะอาดภาชนะ จาน ชาม ช้อน ส้อม และอุปกรณ์ต่างๆ
(7) การต่อแถวซื้ออาหารหรือรอเข้าร้าน ต้องมีระบบการเข้าแถวที่เว้นระยะห่างของลูกค้าอย่างน้อย 1 เมตร
– ควรมีระบบการจองคิว Online และการจองคิวโดยกำหนดเวลาในการเข้าบริการอย่างชัดเจน
– รณรงค์การชำระเงินผ่าน QR Code หรือโอนเงินระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสธนบัตร
– แสดงสัญลักษณ์พื้นที่รอคิวตามมาตรฐานการเว้นอย่างน้อย 1 เมตร ให้ชัดเจน
– มีจุดล้างมือพร้อมสบู่ หรือแอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค สำหรับทำความสะอาดมือ ณ จุดเข้า-ออก และบริเวณอื่นๆ ตามความเหมาะสมของพื้นที่
– ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มระหว่างการเล่น และหลังเล่น
– ห้ามมีผู้ชมมาชุมนุมกัน และห้ามจัดการแข่งขันทุกประเภท
– งดบริการห้องสปา ซาวน์นา อบไอน้ำ และนวด
– งดการเล่นเครื่องเล่นต่างๆ
– งดการรวมกลุ่มชุมนุม เช่น การรวมกลุ่มนั่งคุย กินน้ำชา และรับประทานอาหาร
– งดจำหน่ายสินค้าในสวนสาธารณะ (ยกเว้นเครื่องดื่ม)
– ในสวนสาธารณะสามารถเปิดร้านขายเครื่องดื่มได้แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการการจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่ม
– ทำความสะอาด พื้น ทางเดิน ราวบันได ลูกบิดจับประตู หรือเคาน์เตอร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน ด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อ เช่น ผงซักฟอกโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 0.1% อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และให้จำกัดขยะมูลฝอยทุกวัน
– ทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม ด้วยผงซักฟอก น้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาฟอกขาว แล้วล้างด้วยน้ำให้สะอาดทุก 2 ชั่วโมง
– จัดให้มีการบันทึกรายชื่อ เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ วันที่และเวลา ของผู้ใช้บริการทุกราย เพื่อสามารถติดตามตัวได้กรณีต้องมีการสอบสวนโรค หรือจัดให้มีการใช้ระบบกำกับติดตามผ่าน Application
– จัดให้มีการนัดคิวเข้ารับบริการก่อนใช้บริการ
– สวนสาธารณะต้องจัดให้มีสัญลักษณ์พื้นที่ตามมาตรฐานการเว้นระยะห่าง 2 เมตรให้ชัดเจน
– เจ้าของ หรือผู้จัดการสถานที่ทุกประเภทจะต้องรับผิดชอบการดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่ภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้และจัดระบบอื่นๆ ให้เป็นไปตามคำแนะนำเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่ราชการกรุงเทพมหานคร หรือทางราชการกำหนด
พนักงานผู้ให้บริการ
– พนักงานใส่หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
– พนักงานต้องทำความสะอาดรถกอล์ฟโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ หลังลูกค้าใช้บริการเสร็จ
– พนักงานต้องรักษาระยะห่างระหว่างพนักงานกับลูกค้าอย่างน้อย 1 เมตร
– ห้ามพนักงานสนามกอล์ฟมีการรวมกลุ่ม/จับกลุ่ม
– หากพนักงานที่มีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ หรือมีอุณหภูมอร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส หยุดปฏิบัติงานทันที ไปพบแพทย์และสังเกตอาการที่บ้าน
ผู้ใช้บริการ
– ผู้ใช้บริการใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
– ผู้ใช้บริการที่มาใช้บริการทุกคนต้องรักษาสุขอนามัย ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนและหลังใช้บริการทุกครั้ง
– หากมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ หรือมีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส งดเข้ารับบริการ ไปพบแพทย์ และสังเกตอาการที่บ้าน
– ให้แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่กรณีพบการไม่ปฏิบัติตามมาตรการ
โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการดังนี้
เจ้าของ/ผู้ประกอบการ/ผู้จัดการ
– ต้องมีการคัดกรองอุณหภูมิร่างกาย เจ้าของสัตว์เลี้ยง และพนักงานก่อนเข้าร้าน ตามขีดความสามารถ
– งดรอคิวรับบริการภายในร้าน ให้ผู้ใช้บริการโทรนัดเวลาก่อนเข้ารับบริการ เพื่อจำกัดจำนวนคน และไม่อนุญาตให้คนนั่งรอในร้าน
– จัดให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
– ต้องกำหนดเวลาเปิดและเวลาทำความสะอาดอุปกรณ์ให้ปลอดเชื้อเป็นระยะๆ โดยเปิดรอบละ 2 ชั่วโมงแล้วหยุดทำความสะอาด
– เจ้าของร้านต้องจดเวลาทำความสะอาดไว้เป็นหลักฐาน
– ต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันด้วยแอลกอฮอล์ 70% ทุกครั้งหลังให้บริการ
– ทำความสะอาดสถานที่ภายในร้าน พื้น ห้องน้ำ ส่วนที่ผู้ใช้บริการมีโอกาสสัมผัส เช่น ราวบันได ห้องน้ำ ลูกบิดประตู หรือเคาน์เตอร์ ด้วยผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคทุก 2 ชั่วโมง และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
– ควรรับเงินผ่าน QR Code แทนการรับ-ทอนเงินสด
– พนักงานในร้านควรรักษาสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด เช่น ล้างมือก่อนเข้างานและหลังให้บริการทุกครั้ง
– ไม่จับกลุ่มกันนั่งรับประทานอาหาร ไม่ใช้ภาชนะส่วนตัวร่วมกัน
– ลดการพูดคุยกัน เพื่อลดการแพร่เชื้อจากสารคัดหลั่ง สามารถพูดคุยนัดหมายกันผ่านทาง Facebook หรือ Line
– ต้องจัดการระบายอากาศที่ดีภายในร้าน และทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศภายในร้านอย่างสม่ำเสมอ
– ต้องจดบันทึกรายชื่อ เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ วันที่ และเวลาของเจ้าของสัตว์เลี้ยงทุกคน เพื่อให้สามารถตามตัวได้ กรณีต้องสอบสวนโรค หรือจัดให้มีระบบติดตามตัวผ่าน Application
พนักงานผู้ให้บริการ
– พนักงานในร้านจะต้องสวมถุงมือ สวมหน้ากาอนามัย อย่างถูกวิธีโดยปิดทั้งจมูก และปากไว้ตลอดเวลา
– หากพนักงานทีอาการไข้ ไอ หรือมีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส หยุดปฏิบัติงานทันที่ เพื่อไปพบแพทย์ และสังเกตอาการอยู่บ้าน
– ก่อนและหลังให้บริการต้องล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ก่อนหยิบจับของใช้ส่วนตัว และอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งเมื่อกลับบ้าน
– ห้ามรับประทานอาหารในพื้นที่ให้บริการ
เจ้าของสัตว์
– ลูกค้าที่มาใช้บริการทุกคนจะต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์ 70% ก่อนและหลังใช้บริการทุกครั้ง และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะใช้บริการ
– หากมีอาการไอ ไข้ หรือมีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส งดเข้าใช้บริการ เพื่อไปพบแพทย์ และสังเกตอาการอยู่บ้าน
– แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่กรณีพบการไม่ปฏิบัติตามมาตรการ
สำหรับผู้ประกอบการที่สามารถกลับมาเปิดให้บริการได้แล้ว แนะนำให้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด เพื่อทั้งตัวผู้ประกอบการและตัวผู้ใช้บริการเองจะได้ปลอดภัยจากได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ส่วนรวมจะต้องร่วมกันปฏิบัติเพื่อความอยู่รอดในสังคมของเรา และจะสามารถหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงได้โดยเร็วที่สุด สู้ๆ เราจะผ่านมันไปด้วยกัน (:
ขอบคุณข้อมูลจาก: ผู้ว่าฯ อัศวิน