tripgether.com

รู้ไว้ใช่ว่า.. | 10 เรื่องต้องรู้สู้ ‘โควิด-19’

2,307 ครั้ง
14 เม.ย. 2563

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสวยพันธุ์ใหม่เป็น การระบาดใหญ่ หรือ pandemic หลังจากเชื้อได้ลุกลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ซึ่งยอดผู้ติดเชื้อสะสมสูงสุดทั่วโลก ณ ปัจจุบันนี้อยู่ที่ 1,920,790 คน และเสียชีวิตกว่า 119,686 คน (*ข้อมูลจาก BBC ณ วันที่ 14 เมษายน 2563) ดังนั้นการป้องกันตัวจากการติดเชื้อ และค้นหาความรู้เกี่ยวกับ ‘โควิด-19’ ก็เป็นเรื่องที่รู้ไว้ใช่ว่าจะเสียหายอะไร 

รู้ไว้ใช่ว่า.. | 10 เรื่องต้องรู้สู้ ‘โควิด-19’


1.รู้จักโควิด-19 

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ปีที่แล้ว ทางการจีนยืนยันว่าเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮั่น หลังจากนั้นมีการเก็บตัวอย่างไวรัสจากคนไข้นำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ในเวลาต่อมาจีนและองค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุชื่อเรียกของไวรัสชนิดนี้ว่า “ไวรัสโคโรนา” 

ซึ่ง “ไวรัสโคโรนา” มีทั้งหมด 6 สายพันธุ์ที่เคยเกิดการระบาดในมนุษย์ สำหรับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้เป็นสายพันธุ์ที่ 7

คนไทยจะรู้จักไวรัสตระกูลนี้มาแล้วจากโรค “ซาร์ส” หรือโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS; Severe Acute Respiratory Syndrome) เพราะมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรนาเช่นกัน ซึ่งพบการแพร่ระบาดครั้งแรกในปี 2545 โดยเริ่มที่มณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน ก่อนจะกระจายไปสู่หลายประเทศ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคซาร์สกว่า 774 คน จากจำนวนผู้ป่วย 8,098 คน


2.อาการ

องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จะมีอาการแรกเริ่มคือ มีไข้ ตามด้วยอาการไอแห้งๆ หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์จะมีอาการหายใจติดขัด ผู้ป่วยที่มีอาการหนักจะมีอาการปอดบวมอักเสบ และหากอาการรุนแรงมากอาจจะทำให้อวัยวะภายในล้มเหลวได้ 

รู้ไว้ใช่ว่า.. | 10 เรื่องต้องรู้สู้ ‘โควิด-19’

 80% เป็นหวัดธรรมดา หรือไข้หวัดใหญ่ มีอาการน้อยสามารถหายเองได้ หลังจากพักผ่อนและดูแลตามอาการ
• 14% อาการหนักจากปอดอักเสบ หายใจผิดปกติ
 5% มีอาการวิกฤต การหายใจล้มเหลว ช็อกจากการป่วยรุนแรง
 1-2% เสียชีวิต หลังจากมีอาการหนัก มักเกิดในผู้ป่วยสูงอายุ ที่มีอายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจำตัวทางหัวใจ ปอด เบาหวาน ภูมิต้านทานต่ำ หรือมีโรคประจำตัวอื่นๆ 

อัพเดทอาการ 14 วัน รู้ทันโควิด-19 ถ้าติดเชื้อจะเป็นอย่างไร คลิ๊ก


3.การแพร่กระจายของเชื้อ

เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) สามารถติดต่อกันผ่านทางฝอยละออง น้ำลาย เสมหะ จากการไอ จาม การพูดแล้วมีน้ำลายกระเด็นในระยะใกล้ชิดน้อยกว่า 1-2 เมตร หรือมือที่ไปสัมผัสเชื้อในสภาพแวดล้อม และนำมือมาจับตา จมูก ปาก

เราสามารถป้องกันได้ด้วยการเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร เมื่อต้องออกไปยังที่สาธารณะ เมื่อสัมผัสกับสิ่งของต่างๆ หรือสัมผัสกับจุดเสี่ยง เช่น ธนบัตร ลูกบิดประตู ราวบันได ฯลฯ ให้ล้างมือด้วยน้ำสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ 70% ทันที และไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น จาน ชาม โทรศัพท์ แก้วน้ำ เป็นต้น


4.ระยะเวลาป่วย

ถ้าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ กลุ่มคนที่มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่า คือ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือปัญหาในการหายใจ มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนปกติอย่างน้อย 5 เท่า

รู้ไว้ใช่ว่า.. | 10 เรื่องต้องรู้สู้ ‘โควิด-19’


5.โควิด-19 พบบริเวณไหนในร่างกายเยอะที่สุด?

สารคัดหลั่ง คือ น้ำตา น้ำมูก น้ำลาย เหงื่อ ไขมันจากต่อมเหงื่อ น้ำนม น้ำดี ปัสสาวะ อุจจาระ ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แตกต่างกันไป เมื่อติดเชื้อโควิด-19 เชื้อจะไปสะสมในสารคัดหลั่งชนิดต่างๆ ในปริมาณไม่เท่ากัน ดังนั้น พยายามอย่าสัมผัสกับสารคัดหลั่งโดยตรง โดยเฉพาะสารคัดหลั่งของผู้ป่วยโรคอะไรก็ตาม 

รู้ไว้ใช่ว่า.. | 10 เรื่องต้องรู้สู้ ‘โควิด-19’


6.วิธีตรวจหาเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทย

1.ตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส Real-Time (RT-PCR) จากการจิ้มจมูกและการป้ายคอโดยบุคลากรทางการแพทย์

• เงยหน้า แล้วแหย่ก้านพลาสติกปลายนุ่มเข้าไปในจมูก 1 ที
• แหย่ก้านพลาสติกพันสำลีตรงต่อมทอนซิลและคอด้านหลัง 1 ที (จะรู้สึกอยากอาเจียน)

2.ตรวจหาเชื้อแบบ Rapid Test ตรวจผ่านการเจาะเลือด เพื่อนำไปตรวจหาภูมิคุ้มกัน โดยใช้ชุดทดสอบแบบรวดเร็ว สามารถทราบผลได้ภายใน 15 นาที การตรวจวิธีนี้จะทำได้หลังจากมีอาการป่วย 5-7 วัน หรือได้รับเชื้อมาแล้ว 10-14 วัน ร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต้านเชื้อโรค การแปลผลทำได้ยาก จึงเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรค ต้องพิจารณาโดยแพทย์หรือนักเทคนิคการแพทย์เท่านั้น

รู้ไว้ใช่ว่า.. | 10 เรื่องต้องรู้สู้ ‘โควิด-19’


7.ผลการตรวจ

ผลการตรวจมี 2 แบบคือ

Positive (บวก) คือ พบเชื้อก่อโรคโควิด-19 จะต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลในห้องแยกโรคจนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ และผลการตรวจหาเชื้อจะต้องเป็น ลบ 2 ครั้งหลังจากตรวจแบบเดิมห่างกันอย่างน้อย 48 ชั่วโมง
Negative (ลบ) คือ สามารถกลับบ้านได้ หากอาการป่วยไม่มาก สามารถรักษาตัวเหมือนไข้หวัดทั่วไป แต่สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่อาจติดเชื้อมาจากต่างประเทศ คือผู้ที่เพิ่งเดินทางกลับจากพื้นที่ระบาดเสี่ยงต่อการติดโรค ให้อยู่สังเกตอาการที่บ้านอย่างน้อย 14 วัน ไม่ควรออกไปพบปะสังสรรค์ หากผ่านไปอีก 2-3 วันอาจมีอาการของโรคโควิด-19ได้ แต่หากตรวจแล้วอาการไม่ดีขึ้น ภายใน 48 ชั่วโมงให้มาตรวจซ้ำ


8.เช็ค 5 กลุ่มเฝ้าระวัง COVID-19

คนจำนวนไม่น้อยที่มีเชื้อ COVID-19 อยู่ในตัว

80% ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย
20% อาการหนัก
5% อาการหนักสุดๆ

กลุ่มที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นโควิด-19 ตรวจระดับพันธุกรรมของตัวไวรัส แบบ RT-PCR การตรวจแบบนี้ต้องใช้น้ำยาตรวจแต่มีน้อย จึงตรวจได้เฉพาะผู้ที่มีความจำเป็นต้องตรวจ
กลุ่มน่าสงสัย แต่ตรวจไม่พบเชื้อ มีอาการป่วย เช่น อาการทางระบบทางเดินหายใจ และมีประวัติจากพื้นที่เสี่ยง แต่ทำการตรวจแบบ RT-PCR แล้ว แต่ยังไม่เจอเชื้อ ซึ่งจะตรวจด้วยการ Swap ใช้ก้านพลาสติกปลายนุ่มแหย่เข้าไปในจมูก ภายใน 48 ชั่วโมงแรกอาจยังไม่พบเชื้อ การไม่เจอเชื้อไม่ได้หมายความว่าไม่มีเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อโควิด-19 เพียงแต่ยังไม่เจอเชื้อในเวลานั้น จึงต้องใช้การดูแลอีกแบบหนึ่ง
กลุ่มสัมผัสผู้ป่วยโควิด-19 ต้องติดตามดูอาการ เพราะไม่รู้ว่าได้รับเชื้อมาหรือไม่ ส่วนมากจะเป็นกลุ่มที่ไม่มีอาการอะไรชัดเจน จึงต้องทำ Quarantine คือการกักตัวอยู่บ้านอย่างน้อย 14 วัน ติดตามดูอาการเฉยๆ ไม่ต้องอยู่โรงพยาบาลก็ได้
กลุ่มแฝงไม่แสดงอาการ เป็นกลุ่มที่คนไทยส่วนใหญ่ในจำนวนไม่น้อย จะไม่มีอาการอะไรเลย ไม่ได้ไปพื้นที่เสี่ยง และไม่ได้ทำการตรวจอะไร ไม่สามารถตอบได้ว่าในพื้นที่ที่กลุ่มคนเหล่านี้อยู่จริงๆ มีผู้ติดเชื้อหรือไม่ และถ้าติดเชื้อจริงจะแพร่เชื้อไปมากน้อยเพียงใดแล้ว เพราะคนกลุ่มนี้ไม่มีอาการ
กลุ่มรักษาหายแล้ว กลุ่มผู้ป่วยที่ได้มีการติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว และรักษาตัวจนหายแล้ว เป็นกลุ่มที่เป็นกองทัพสำคัญ เพราะบุคคลเหล่านี้จะเป็นผู้ที่มีภูมิต้านทานในการป้องกันโรคแล้ว 


9.การมีเซ็กส์ช่วงโควิด-19 ปลอดภัยไหม?

หลายๆ คนคงมีข้อสงสัยแต่ไม่กล้าถาม วันนี้เรามีคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญมาไขข้อสงสัยนี้

รู้ไว้ใช่ว่า.. | 10 เรื่องต้องรู้สู้ ‘โควิด-19’


10.สิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันโควิด-19

ล้างมือบ่อยๆ ควรล้างมือด้วยน้ำสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ 70% หลังจากหยิบจับสิ่งของ หรือออกไปในที่สาธารณะ
ไอ/จาม ใส่ต้นแขนด้านใน แทนการยกมือขึ้นมาปิดปาก
ห้ามใช้มือสัมผัสใบหน้า
สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อเข้าชุมชน
อยู่ห่างจากคนอื่น เมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ควรยืนห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร เพื่อความปลอดภัย
หยุดอยู่บ้าน เพื่อลดการรับเชื้อ และลดการแพร่เชื้อ

ขอบคุณข้อมูลจาก: องค์การอนามัยโลก (WHO), กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข, BBC 


ผู้เขียน

ampampaamp
นัก(หัด)เขียน ที่ฝันอยากใช้ชีวิตเรียบง่าย เงียบสงบ กับธรรมชาติ ,ชื่นชอบเรื่องไลฟ์สไตล์ การแต่งบ้าน เบเกอรี่ พอๆ กับการท่องเที่ยว แต่มักใช้เวลาว่างหมดไปกับการนอนดูซีรีส์

เรื่องที่คุณอาจสนใจ