tripgether.com

เป็น Hero ไปด้วยกัน | เชิญชวนผู้ป่วย COVID-19 ที่หายดีแล้วร่วมบริจาคพลาสมาช่วยผู้ป่วยอาการรุนแรง

567 ครั้ง
1 พ.ค. 2563

ในสถานการณ์โควิด-19 แบบนี้ยังคงมีผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้นทุกวันแม้จะมีจำนวนไม่มากก็ตาม แต่ก็ยังมีข่าวดีเกิดขึ้นมาไม่น้อยเพราะมีผู้ที่หายป่วยแล้วจำนวนมากเช่นกัน วันนี้จึงอยากชวนคนที่หายป่วยจากโควิด-19 แล้วมาร่วมกันบริจาคพลาสมากันได้ มาร่วมกันเป็นฮีโร่ช่วยผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงกันได้ดังนี้

AW_200504_0933.900


พลาสมา คืออะไร?

ก่อนอื่นชวนมารู้จัก “พลาสมา” กันก่อนเลย ซึ่งการบริจาคเลือดแต่ละครั้ง เลือดจะถูกแยกส่วนประกอบออกเป็น เลือดแดงอัดแน่น (packed red cells) น้ำเหลือง หรือพลาสมา (plasma) และเกล็ดเลือด (platelet) จะถูกนำไปเก็บรักษาไว้อย่างเหมาะสมที่ธนาคารเลือด เพื่อสามารถนำเลือดเหล่านั้นไปรักษาผู้ป่วยต่อไป ซึ่งชั้นพลาสมาเป็นชั้นที่อยู่บนสุด ถัดมาเป็นชั้นบัฟเฟอร์ หรือเม็ดเลือดแดง จะเป็นชั้นบางๆ สีขาวของเกล็ดเลือดและเม็ดเลือดขาว และชั้นล่างสุดจะเป็นชั้นเม็ดเลือดแดง เป็นส่วนที่มีความหนาแน่นมากที่สุด

พลาสมาของผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้วมีประโยชน์อย่างไร?

พลาสมาของผู้ป่วย COVID-19 ที่หายดีแล้วนั้นมีประโยชน์มากในการรักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการรุนแรง เพราะภูมิต้านทานที่เกิดจากผู้ป่วยจะเปรียบเสมือนเซรุ่มที่จะนำไปรักษาโรคได้ ดังนั้นการเก็บพลาสมาของผู้ป่วยที่หายดีแล้วนั้นจึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงได้

สภากาชาดจึงชวนผู้ป่วยที่หายดีแล้ว พักอยู่บ้านมาร่วมเป็นฮีโร่ในการช่วยสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับผู้อื่นด้วยการมาลงทะเบียนบริจาคพลาสมากันได้ โดยสามารถลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ https://ccp.nbc.in.th 

สำหรับผู้ที่สนใจอยากเป็นฮีโร่ไปด้วยกันเพียงมีคุณสมบัติเบื้องต้น ดังนี้

    1. เป็นผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่รักษาหายแล้วไม่มีอาการแล้ว พำนักอยู่ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางข้ามจังหวัด ตามประกาศ พรก. ฉุกเฉิน
    2. ออกจากโรงพยาบาลและกักตัวครบ 14 วันแล้ว
    3. อายุ 17 ปีบริบูรณ์ – 60 ปี น้ำหนักตัวไม่ต่ำกว่า 50 กิโลกรัม
    4. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดีแล้ว

หากมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อนัดหมายต่อไป

ขั้นตอนการลงทะเบียน ดังนี้

95224481_2683739945070415_1857989748304379904_o

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2256 4300
ขอบคุณข้อมูลจาก: ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย, ส่วนประกอบของเลือด (Composition of blood)


ผู้เขียน

ampampaamp
นัก(หัด)เขียน ที่ฝันอยากใช้ชีวิตเรียบง่าย เงียบสงบ กับธรรมชาติ ,ชื่นชอบเรื่องไลฟ์สไตล์ การแต่งบ้าน เบเกอรี่ พอๆ กับการท่องเที่ยว แต่มักใช้เวลาว่างหมดไปกับการนอนดูซีรีส์

เรื่องที่คุณอาจสนใจ